รับมอบเงินสนับสนุนการปรับปรุงห้องประชุมในนามคุณวิบูลพร อัตถากร และครอบครัว จำนวน 200,000 บาท

FeaturedCategories: activities, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , on


วันที่ 19 มีนาคม 2566

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์​ ขอขอบพระคุณคุณจักรพงษ์ อัตถากรและครอบครัว ในโอกาสที่เดินทางมามอบเงินบริจาคจำนวน 200,000 บาทในนามคุณวิบูลพร อัตถากรและครอบครัว เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการปรับปรุงห้องประชุมมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ ณ​ อาคารคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ โดยมีดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบทุน และนำเยี่ยมชมกิจกรรมต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ รวมถึงศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมด้วย

50 ปี การเดินทาง ของ”หนังสือภาษามือไทย”

FeaturedCategories: บทความที่น่าสนใจTags: on
5️⃣0️⃣ปี” การเดินทางของ 🚶‍♀️
📘“หนังสือภาษามือไทย”✋👂👄
 
📌จากหนังสือแบบเรียนภาษามือเล่มแรก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2509
📌1️⃣4️⃣ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ
📘“หนังสือแบบเรียน ภาษามือ เล่มแรก เกิดขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2509 เป็นเวลากว่า 14 ปี หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ ขึ้นมา พร้อมกับโรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งแรกในประเทศไทย
📘หนังสือภาษามือ “เล่มแรก” โดยแผนกการศึกษาสงเคราะห์ กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
โดยมีคำอธิบายเป็นตัวหนังสืออย่างเดียว ยังไม่มีภาพภาษามือประกอบ”
📘✋👂👄📘
 
 
 
📘พุทธศักราช 2526 หนังสือภาษามือเล่มที่ 2 และเป็นเล่มแรกที่มีภาพประกอบ
3️⃣1️⃣ ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ” ✋👂👄
ในปีพุทธศักราช 2526 ในประเทศไทยมีหนังสือภาษามือ ที่มีภาพประกอบ เป็น “เล่มแรก” หลังจากที่ ก่อตั้งมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูนวกฯ มาแล้ว 31 ปี และมีระยะเวลาห่างจาก หนังสือภาษามือ เล่มแรก (ยังไม่มีภาพประกอบ) ถึง 17 ปี จึงเกิดหนังสือแบบเรียนภาษามือ เล่มที่ 2 และเป็นหนังสือภาษามือ เล่มแรกที่มีภาพประกอบ แทนคำบรรยายอย่างเดียว จัดทำโดย กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
🏫✋👂👄
 
 
📘พุทธศักราช 2529-2533 อีก 3 ปีต่อมามีการรวบรวม เกิดเป็น “ปทานุกรมภาษามือไทย” เล่มแรก และมีฉบับต่อขยายเพิ่มเติมในปี 2533
📌“ปทานุกรมภาษามือไทย เล่มแรก” 📘✋👂👄
ในปีพุทธศักราช 2529 ในประเทศไทยมี ปทานุกรมภาษามือ เป็นเล่มแรก ห่างมาจากการมีหนังสือภาษามือมีภาพประกอบเล่มแรก มาอีก 3 ปี เป็นการสาธิตภาษามือได้อย่างชัดเจน ให้ทราบถึงความหมายต่าง ๆ และการสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานานของภาษามือไทย เป็นงานภาษามือที่ถูกต้องฉบับแรกที่จัดพิมพ์ขึ้นด้วยภาษามือไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยวากยสัมพันธ์ และไวยากรณ์ของตัวเอง แตกต่างจากภาษาพูดของไทย และมีเล่มขยายเพิ่มเติม ใน พ.ศ.2533 (เล่มสีเขียว)📗✋👂👄
 
📘พุทธศักราช 2544 11 ปีต่อมาจึงเกิดแบบเรียนหนังสือภาษามือไทยแบบแบ่งคำศัพท์เป็นหมวดหมู่ 6 เล่ม ขึ้นมา
📌4️⃣9️⃣ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ
“ในปีพุทธศักราช 2544 หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ 49 ปี เกิดหนังสือแบบเรียนภาษามือ แบบชุด 6 เล่ม ตั้งแต่เล่ม 1-6 โดยสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และนับจากหนังสือภาษามือเล่มแรก ในปี 2509 มาเป็นเวลา 35 ปี เป็นการรวบรวมคำศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่ ถึง 6 เล่ม เพื่อให้คนหูหนวกที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนถึงบุคคลทั่วไปได้เข้าถึงอย่างถูกต้อง”
📘✋👂👄
 
📘พุทธศักราช 2559 นับเป็น 50 ปี ที่เกิดหนังสือภาษามือไทยเล่มแรกเกิดขึ้นมา
จึงเกิด
💻“เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” ที่รวบรวมภาษามือไทยในรูปแบบเว็บไซต์ มีวิดีโอ เห็นการเคลื่อนไหวของมือ สีหน้า ท่าทาง ได้ชัดเจน และสมบูรณ์แบบ
🏫✋👂👄📘
📌6️⃣4️⃣ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ
ในปีพุทธศักราช 2559 หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ 64 ปี สำนักราชบัณฑิตยสภา ได้เปิดใช้งาน “เว็บไซต์พจนุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559
เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของคนหูหนวก เข้าถึงได้ง่าย เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2551 และนับเป็นเวลากว่า 50 ปี จากที่เกิดหนังสือภาษามือเล่มแรกขึ้นมา
💻📱
 
นับเป็นการเดินทางที่ได้เห็นการเติบโตและพัฒนาการศึกษาของคนหูหนวกและหนังสือภาษามือของไทยได้ชัดเจนขึ้น
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ริเริ่มและให้ความสำคัญกับการศึกษาของคนหูหนวกมาตลอด
จนครบรอบสู่ปีที่ 69 เราก็ยังคงก้าวไปข้างหน้าเพื่อพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกต่อไป
🏫✋👂👄📘

“หมอกหรือควัน” กับเรื่องราวเบื้องหลังท่าภาษามือในตำนาน

FeaturedFormat: วีดีโอCategories: บทความที่น่าสนใจTags: , , , , on

 

หมอกจางจางและควัน
คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้
อยากจะถามดู
ว่าเธอเป็นอย่างหมอกหรือควัน

หมอกจะงดงามและทำให้เยือกเย็น
แสนจะเย็นสบายเมื่อยามเช้า
ถ้าเป็นควันไฟถึงจะบางเบา
หากเข้าในตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา

เธอเป็นยังไงจึงอยากรู้
เพราะฉันดูเธอไม่ออก ยังคงไม่เข้าใจ
บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว
และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน
ฉันนั้นชักไม่มั่นใจ

เพราะถ้าฉันต้องเสี่ยงกับควันไฟ
จะเตรียมตัวและเตรียมใจถอนตัว
เพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

หมอกจะงดงามและทำให้เยือกเย็น
แสนจะเย็นสบายเมื่อยามเช้า
ถ้าเป็นควันไฟถึงจะบางเบา
หากเข้าในตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา

เธอเป็นยังไงจึงอยากรู้
เพราะฉันดูเธอไม่ออก ยังคงไม่เข้าใจ
บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว
และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน
ฉันนั้นชักไม่มั่นใจ

เพราะถ้าฉันต้องเสี่ยงกับควันไฟ
จะเตรียมตัวและเตรียมใจถอนตัว
เพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

ถอนตัวเพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา
จะถอนตัวเพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

 

เราว่าต้องมีหลายคนที่แอบทำท่าภาษามือตามเนื้อร้องของเพลงนี้

และเชื่อว่าหลายคนรู้จักภาษามือและคนหูหนวกเป็นครั้งแรกเพราะเพลงนี้เช่นกัน

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี พ.ศ.2533

ไม่มีใครไม่รู้จัก พี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์

นักร้องที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดตลอดกาลคนหนึ่งของวงการบันเทิงไทย

และอัลบั้มที่มาแรงที่สุดในปีนั้นก็คือ “บูมเมอแรง”

อัลบั้มนี้รวมเพลงที่ดังระเบิดของพี่เบิร์ดไว้หลายเพลง

รวมถึงเพลง “หมอกหรือควัน” เพลงนี้ด้วย

 

ย้อนกลับไปอีก 5 ปี ในปีพ.ศ. 2528

ณ เวลานั้นคนทั่วไปยังไม่ค่อยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับคนหูหนวก

ยังไม่รู้จักว่าคนหูหนวกเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร

และไม่รู้วิธีที่จะสื่อสารกับคนหูหนวก

จึงเหมือนกับว่าโลกของคนหูดีและคนหูหนวกนั้น

ตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง

 

แต่อยู่มาวันหนึ่ง สิ่งแปลกใหม่ก็เกิดขึ้นในวงการโทรทัศน์

ในรายการ “เวทีวาที” รายการทอล์กโชว์ที่มีชื่อเสียงทั่วฟ้าเมืองไทย

ของพิธีกรและนักพูดระดับตำนาน คุณแอ้-กรรณิกา ธรรมเกษร

ที่มุมขวาล่างของจอโทรทัศน์ ปรากฏว่ามีจอเล็ก ๆ โผล่ขึ้นมาอีกจอหนึ่ง

และในจอเล็ก ๆ นั้น มีคนที่คอยทำหน้าที่สื่อสาร

แปลภาษาพูดของเหล่านักพูดที่มาในรายการ

ให้กลายเป็นภาษามือเพื่อให้คนหูหนวกที่ชมรายการอยู่ทางบ้าน

ได้เข้าใจเนื้อหาสาระของรายการไป

และได้รับความบันเทิงไปพร้อมๆ กับสมาชิกในครอบครัว

นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้เรารู้จัก “ล่ามภาษามือ”

ทำให้เราได้รับรู้ว่ามีคนหูหนวกอยู่ร่วมกับเราในสังคม

และเป็นผู้ชมรายการโทรทัศน์เช่นเดียวกับทุกคน

 

จากนั้น โลกของคนหูดีและคนหูหนวกก็ค่อย ๆ เชื่อมเข้าหากัน

คนทั่วไปสนใจที่จะสื่อสารกับคนหูหนวกมากขึ้น

และในปี 2533 นั้นเอง ประเทศไทยก็ได้ต้อนรับ Alexander Wesley Jones

นักเรียนหูหนวกคนแรกในโครงการ AFS (American Field Service) จากสหรัฐอเมริกา

มาเรียนร่วมกับเด็กหูหนวกไทยที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์

ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Alex เป็นเด็กหูหนวกอเมริกัน จึงใช้ภาษามืออเมริกัน

Host family หรือครอบครัวที่จะรับ Alex มาอยู่ร่วมกันได้

จึงต้องมีผู้ที่ใช้ภาษามืออเมริกันได้ 

จริงๆ แล้ว Alex เลือกจะไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

แต่ไม่มีครอบครัวไหนสามารถรับ Alex ไปอยู่ด้วยได้

ทาง Gallaudet University กรุง Washington D.C.

จึงแนะนำให้ AFS ติดต่อมายังดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง

ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ภาษามืออเมริกันได้ 

Alex เล่าให้เราฟังว่า วินาทีที่ดร.มลิวัลย์ โอบกอด Alex ตอนเจอกันครั้งแรก

เขาก็รู้ได้ทันทีว่าเขาอยู่กับ “แม่” คนไทยคนนี้ได้แน่นอน 

ดังนั้น Alex จึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง

ล่ามภาษามือทางโทรทัศน์คนแรกของประเทศไทย

ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ อยู่ในขณะนั้น

 

Alex หรือ “เล็ก” ชื่อเล่นภาษาไทยที่ดร.มลิวัลย์เป็นคนตั้งให้

เป็นเด็กที่กล้าแสดงออก มีความสนใจและความถนัดด้านการละคร และการเต้น

เมื่อคุณบุษบา ดาวเรือง ครีเอทีฟชื่อดังจากแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ในขณะนั้น

ติดต่อมาที่โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ เพื่อให้ดร.มลิวัลย์

เป็นผู้ฝึกสอนภาษามือให้กับพี่เบิร์ด ในเพลง “หมอกหรือควัน”

ที่จะแสดงในคอนเสิร์ตใหญ่คือคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด ตอนที่ 4 

“มันอยู่ในมือมนุษย์บูมเมอแรง” 

ดร.มลิวัลย์จึงได้เสนอความคิดเห็นว่าอยากให้ “เล็ก”

เป็นคนไปสอนท่าภาษามือให้กับพี่เบิร์ดแทน

เพราะ “เล็ก” เป็นวัยรุ่นฝรั่ง ดูจะมีอะไรน่ารักน่าสนใจมากกว่า

และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้รู้จักกับคนหูหนวกมากยิ่งขึ้น

จากนั้นดร.มลิวัลย์และ “เล็ก”ก็ร่วมกันคิดท่าภาษามือประกอบเพลง “หมอกหรือควัน”

โดยคัดเลือกท่าภาษามือที่สวยงาม ดูแล้วเข้ากับเนื้อร้องและทำนอง

ไปนำเสนอคุณบุษบา ดาวเรือง ซึ่งมีส่วนร่วมออกความคิดเห็น

และดูความเหมาะสมสวยงามเพื่อไปฝึกสอนให้กับพี่เบิร์ด

                  

ในวันแสดงคอนเสิร์ต ภาษามือในเพลง “หมอกหรือควัน”

ก็สร้างปรากฏการณ์ฮือฮาขึ้นในวงการบันเทิงแบบพลุแตก

เพราะเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำภาษามือมาแสดงในคอนเสิร์ต

โดยศิลปินตัวพ่อของวงการอย่างพี่เบิร์ด-ธงไชย

กลายเป็นไวรัลกระแสฮิตทำภาษามือตามพี่เบิร์ดกันทั้งบ้านทั้งเมือง

ตั้งแต่ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายด้วยซ้ำไป

 

จากวันนั้นถึงวันนี้ ภาษามือซึ่งรู้จักเพียงในหมู่ของคนหูหนวก

ได้กลายมาเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

เห็นได้จากความนิยมในการเรียนภาษามือ

ซึ่งทางมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์

จัดการเรียนการสอนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานนับสิบปีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

แต่มีความจำเป็นต้องหยุดชั่วคราวเนื่องจากพิษโควิด-19

และทุกวันนี้ล่ามภาษามือที่เป็นของแปลกใหม่ในสมัยนั้น

ได้กลายมาเป็นบริการสาธารณะของรัฐที่ต้องจัดให้กับคนหูหนวก/หูตึง

เพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมตามสิทธิมนุษยชน

 

ในปี 2564 นี้เราอาจจะได้เห็นภาพการใช้ภาษามือประกอบการร้องเพลงอีกครั้ง

แต่จะเป็นศิลปินท่านใด จะตรงกับที่เราคิดไว้หรือไม่

ต้องติดตามชม

 



 

 

 

 

 

 

ศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียม

FeaturedCategories: บทความที่น่าสนใจTags: , , , , , , on

                                 
                      หลักการและเหตุผล

            จากการสำรวจความพิการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2560 พบว่ามีคนพิการจำนวน 3.7 ล้านคน หรือร้อยละ 5.5 ของประชากรทั้งประเทศ ในจำนวนนี้มีคนพิการทางการได้ยินซึ่งเป็นผู้พิการที่มีจำนวนมากเป็นอันดับที่สองเป็นร้อยละ 18.65 ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทั้งหมด (372,189 คน) ส่วนอัตราอุบัติการของการสูญเสียการได้ยินยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด 

            ศ. เกียรติคุณ พญ. สุจิตรา ประสานสุข พบว่ามีความชุกของคนหูหนวกที่ร้อยละ 0.2-0.5 และโครงการทะเบียนประสาทหูเทียมพบว่าทารกแรกเกิดและมีชีพในปี 2560 จะมีเด็กหูหนวกประมาณ 328 คนต่อปี หากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการคัดกรองและให้ความช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม เด็กเหล่านี้จะพลาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับศักยภาพ ส่งผลให้ครอบครัวต้องรับภาระการที่มีเด็กที่พิการทางการได้ยิน ขาดการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็ก และความพร้อมของครอบครัวส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ครอบครัว และสังคม

          ปัจจุบันการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการได้ยินให้กับผู้ที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิดและภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์และได้รับความเชื่อถือ ดังจะเห็นได้จากการที่กรมบัญชีกลางอนุมัติค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ประสาทหูเทียมให้แก่ผู้มีสิทธิเบิกจ่ายทางราชการได้ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สิทธิ์ได้รับการอนุเคราะห์จากทางราชการ  มูลนิธิฯ จึงได้จัดโครงการสนับสนุนค่าจัดหาอุปกรณ์ประสาทหูเทียมให้เด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ผ่านการตรวจวินิจฉัยจากทางการแพทย์ และการคัดกรองจากนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ควรได้รับการพิจารณาสนับสนุน

           โครงการ หนูอยากได้ยินเสียงแม่ ของมูลนิธิฯ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547 และทุก ๆ ปีมูลนิธิฯ ได้พิจารณาสนับสนุนทุนในการผ่าตัดประสาทหูเทียมมาอย่างต่อเนื่อง เด็กหูหนวกคนแรกที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมคนแรกของโครงการหนูอยากได้ยินเสียงแม่คือ นางสาวประทุมวรรณ สัตถาผล หรือน้องฟ้าใส ปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

           จากการศึกษาวิจัยเรื่องการประเมินความพร้อมของระบบสุขภาพในการให้บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพในประเทศไทย (2562) พบว่าการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมีความคุ้มค่ามากที่สุดในเด็กเล็ก และการตัดสินใจของผู้ปกครองเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่สำคัญมาก ตลอดจนความคาดหวังที่สมเหตุสมผลในประสิทธิผล และความสามารถในการใช้การได้ยินจากประสาทหูเทียมอย่างเต็มศักยภาพนั้นขึ้นอยู่กับการที่พ่อแม่ผู้ปกครองครูและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินและการจัดการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ถูกต้องเป็นสำคัญ

           แม้ว่าการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทยจะเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นเวลา 35 ปีมาแล้วก็ตาม ประเทศไทยก็ยังไม่มีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมของทางราชการ ที่ประชาชนทั่วไปตลอดจนพ่อแม่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้ามาเยี่ยมชมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจในการให้บุตรหลานใช้ประสาทหูเทียมหรือไม่อย่างถูกต้องโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

          มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการให้การสนับสนุนให้พ่อแม่ของเด็กหูหนวกและหูตึงรุนแรงมีทางเลือกในการสื่อสารการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกตลอดมา จึงเห็นความสำคัญของการมีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาดังกล่าวอาจเป็นศูนย์การศึกษาพิเศษที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์บริการทางการศึกษาของรัฐและเอกชนหรือโรงเรียนโสตศึกษาทั่วไป เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิดก่อนการตัดสินใจ เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินต่อไป

                   วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นศูนย์สาธิตการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินสำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมและครอบครัว ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากมูลนิธิฯและเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมทั่วไป
  • เป็นศูนย์สาธิตวิธีการสอนพูดโดยใช้ทักษะการฟัง (Auditory Verbal Teaching) สำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษา
  • เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ สำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมและครอบครัว ทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษา การสนับสนุนด้านการจัดหาอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน การปรับเครื่องประสาทหูเทียม และการแนะแนวการศึกษา
  • เป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ด้านการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับครอบครัวของเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในประเทศไทย

                      กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กที่มูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนทุนในการจัดหาเครื่องประสาทหูเทียมแต่ละปีประมาณ 20 ราย และเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ประสงค์จะเข้ารับการพัฒนา
  • เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ต้องการได้รับการฝึกพูดโดยใช้ทักษะการฟังในโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ จำนวน 13 คน
  • พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กหูหนวกที่ประสงค์จะใช้เทคโนโลยีประสาทหูเทียมในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และการศึกษา ปีละ 100 คน

                      ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ได้มีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษาเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • ผู้ปกครองที่ใช้ประสาทหูเทียม ได้รับบริการแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร คำปรึกษาและบริการที่จำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาทางเลือกในการสื่อสารการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและสอดคล้องกับเศรษฐสถานะของผู้ปกครอง
  • บุคลากรที่ประสงค์และมีหน้าที่ในการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมได้รับการฝึกทักษะและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

                       ตัวชี้วัดความสำเร็จ

         เป้าหมายของโครงการนี้คือ เป็นศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษาที่ให้บริการคำปรึกษาและการช่วยเหลือในการใช้ประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพการฟังและการพูดภายหลังการผ่าตัดอย่างครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service for C.I. Recipients) และเพื่อให้เป็นต้นแบบแห่งการให้บริการนี้ในสถานศึกษาอื่น ๆ เช่นศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์บริการเด็กหูหนวกและครอบครัว โรงเรียนโสตศึกษาของรัฐและเอกชน ตลอดจนเป็นศูนย์บ้านเรียนสำหรับผู้ปกครองของเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ดังจะเห็นจากตัวชี้วัดต่อไปนี้

  • เด็กหูหนวกที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ได้รับการสนับสนุนทุนอุปกรณ์เครื่องประสาทหูเทียมจากมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังและการพูดอย่างน้อยร้อยละ 80
  • ผู้ปกครองของเด็กหูหนวก หูตึง ได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องทางเลือกในการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กและความพร้อมของผู้ปกครองอย่างน้อยร้อยละ 80
  • ผู้ปกครองมีความพอใจในการบริการแบบเบ็ดเสร็จของศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมอย่างน้อยร้อยละ 80
  • บุคลากรที่ประสงค์จะพัฒนาทักษะวิธีสอนพูดโดยใช้ทักษะการฟังมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนพูดให้เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ80
  • บุคลากรที่เข้ามารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในศูนย์สาธิตนี้มีความพึงพอใจในการบริการต่าง ๆ ที่ศูนย์จัดให้อย่างน้อยร้อยละ 80

 

 

 

วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ๘ มกราคม ๒๕๖๗

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , , on

8 มกราคม 2567
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา นางสาวธันย์ชนก ฟักอุดม ผู้แทนพระองค์ เชิญสิ่งของ และเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานมอบให้แก่เด็กนักเรียนหูหนวกโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ โดยมีคณะผู้บริหาร นักเรียน บุคลากรและผู้ปกครองให้การต้อนรับ ในการนี้นางสายใจ สังขพันธ์ รองเลขาธิการ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทูลเกล้าฯ ถวายแจกันดอกไม้ผ่านผู้แทนพระองค์ด้วย

รับมอบเงินบริจาคจากกิจกรรม Carlton Lucky Draw for Charity ในนามโรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , , on

วันที่ 25 ธันวาคม 2566
โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิท มอบเงินบริจาค จำนวน 100,000 บาท จากกิจกรรม Carlton Lucky Draw for Charity ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อสมทบทุนโครงการ Voice of Love ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมให้น้องหูหนวก โดยมีอาจารย์สายใจ สังขพันธ์ รองเลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบมามูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้

มอบทุนการศึกษาให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์

Categories: activities, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , on

วันที่ 14 ธันวาคม 2566

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบทุนการศึกษา จำนวน 60,000 บาท ให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี นางสายใจ สังขพันธ์ รองเลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้มอบ 

มอบทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท ให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , on


วันที่ 13 ธันวาคม 2566
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบทุนการศึกษา จำนวน 30,000 บาท ให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนาโดยมี ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้มอบ

มอบเสื้อ Voice of Love ให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , on

วันที่ 13 ธันวาคม 2566
คุณบำรุง – คุณอาภา จินดาพล ร่วมกับมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบเสื้อ Voice of Love ให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา โดยมี ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้มอบ 


มอบทุนการศึกษาและมอบเครื่องช่วยฟังให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , on

วันที่ 13 ธันวาคม 2566
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบทุนการศึกษา จำนวน 60,000 บาท และมอบเครื่องช่วยฟังจำนวน 98 เครื่อง มูลค่า 1,323,000 บาท ให้นักเรียนหูหนวกโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชลบุรี โดยมีดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้มอบ

 

รับมอบเงินบริจาคจากโรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: on


วันที่ 1 ธันวาคม 2566
ขอขอบคุณโรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ มอบเงินบริจาคจำนวน 100,847 บาท (หนึ่งแสนแปดร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีอาจารย์สายใจ สังขพันธ์ รองเลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบ

Silent Song Charity Concert for the Deaf ครั้งที่ 5

Categories: กิจกรรมจัดหาทุน, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , , , , , , , , , , on


เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี
ก่อตั้งมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์
จัดงาน SILENT SONG Charity Concert for the Deaf ครั้งที่ 5
“โครงการหนูอยากได้ยินเสียงแม่”
เพื่อสมทบทุนการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมแก่เด็กหูหนวก
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566
เวลา 11:00 -17:00 น.
ณ ห้องอังรีดูนังต์ ราชกรีฑาสโมสร
{งานจำหน่ายบัตร “เต็มทุกที่นั่ง” แล้ว}

ร่วมสนับสนุนโดย :
บริษัท ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ จำกัด
บริษัท ทีทีซี น้ำดื่มสยาม จำกัด
บริษัท ฤทธา จำกัด
บริษัท ทีทีซีมอเตอร์ จำกัด
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
บริษัท พีไอเอ อินทีเรีย จำกัด

รับมอบเงินบริจาคจำนวน 100,000 บาทจากการจัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล“ฅนเหล็กมินิมาราธอน” จาก 5 บริษัทอุตสาหกรรมเหล็ก

Categories: activities, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , , , , on

วันที่ 8 ตุลาคม 2566
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขอขอบพระคุณ 5 บริษัทอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งประกอบด้วย
1.บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) (SSI)
2.บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) (TCRSS)
3.บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด (NS BlueScope)
4.บริษัท เอ็นเอส-สยามยูไนเต็ดสตีล จำกัด (NS-SUS)
5.บริษัท เจเอฟอี สดีล กัลวาไนซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (ISGT)
มอบเงินบริจาค จำนวน 100,000 บาท จากการจัดกิจกรรม เดิน-วิ่งการกุศล “ฅนเหล็กมินิมาราธอน” ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) กรุงเทพฯ

รับมอบสิ่งของและเงินบริจาคจากบริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด

Categories: activities, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , on

วันที่ 22 กันยายน 2566
ตัวแทนบริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด มอบสิ่งของและเงินบริจาค 53,146 บาท ให้มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง เลขาธิการมูลนิธิฯ และอ.สายใจ สังขพันธุ์ รองเลขาธิการ เป็นผู้รับมอบ 
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this