“
ปี” การเดินทางของ 













โดยมีคำอธิบายเป็นตัวหนังสืออย่างเดียว ยังไม่มีภาพภาษามือประกอบ”

“
ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ” 


ในปีพุทธศักราช 2526 ในประเทศไทยมีหนังสือภาษามือ ที่มีภาพประกอบ เป็น “เล่มแรก” หลังจากที่ ก่อตั้งมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูนวกฯ มาแล้ว 31 ปี และมีระยะเวลาห่างจาก หนังสือภาษามือ เล่มแรก (ยังไม่มีภาพประกอบ) ถึง 17 ปี จึงเกิดหนังสือแบบเรียนภาษามือ เล่มที่ 2 และเป็นหนังสือภาษามือ เล่มแรกที่มีภาพประกอบ แทนคำบรรยายอย่างเดียว จัดทำโดย กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ









ในปีพุทธศักราช 2526 ในประเทศไทยมีหนังสือภาษามือ ที่มีภาพประกอบ เป็น “เล่มแรก” หลังจากที่ ก่อตั้งมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูนวกฯ มาแล้ว 31 ปี และมีระยะเวลาห่างจาก หนังสือภาษามือ เล่มแรก (ยังไม่มีภาพประกอบ) ถึง 17 ปี จึงเกิดหนังสือแบบเรียนภาษามือ เล่มที่ 2 และเป็นหนังสือภาษามือ เล่มแรกที่มีภาพประกอบ แทนคำบรรยายอย่างเดียว จัดทำโดย กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ










ในปีพุทธศักราช 2529 ในประเทศไทยมี ปทานุกรมภาษามือ เป็นเล่มแรก ห่างมาจากการมีหนังสือภาษามือมีภาพประกอบเล่มแรก มาอีก 3 ปี เป็นการสาธิตภาษามือได้อย่างชัดเจน ให้ทราบถึงความหมายต่าง ๆ และการสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานานของภาษามือไทย เป็นงานภาษามือที่ถูกต้องฉบับแรกที่จัดพิมพ์ขึ้นด้วยภาษามือไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยวากยสัมพันธ์ และไวยากรณ์ของตัวเอง แตกต่างจากภาษาพูดของไทย และมีเล่มขยายเพิ่มเติม ใน พ.ศ.2533 (เล่มสีเขียว)









“ในปีพุทธศักราช 2544 หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ 49 ปี เกิดหนังสือแบบเรียนภาษามือ แบบชุด 6 เล่ม ตั้งแต่เล่ม 1-6 โดยสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และนับจากหนังสือภาษามือเล่มแรก ในปี 2509 มาเป็นเวลา 35 ปี เป็นการรวบรวมคำศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่ ถึง 6 เล่ม เพื่อให้คนหูหนวกที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนถึงบุคคลทั่วไปได้เข้าถึงอย่างถูกต้อง”





จึงเกิด









ในปีพุทธศักราช 2559 หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ 64 ปี สำนักราชบัณฑิตยสภา ได้เปิดใช้งาน “เว็บไซต์พจนุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559
เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของคนหูหนวก เข้าถึงได้ง่าย เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2551 และนับเป็นเวลากว่า 50 ปี จากที่เกิดหนังสือภาษามือเล่มแรกขึ้นมา



นับเป็นการเดินทางที่ได้เห็นการเติบโตและพัฒนาการศึกษาของคนหูหนวกและหนังสือภาษามือของไทยได้ชัดเจนขึ้น
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ริเริ่มและให้ความสำคัญกับการศึกษาของคนหูหนวกมาตลอด
จนครบรอบสู่ปีที่ 69 เราก็ยังคงก้าวไปข้างหน้าเพื่อพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกต่อไป




