วันภาษามือโลก

Categories: บทความที่น่าสนใจTags: , on
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 23 กันยายนของทุกปี เป็นวันภาษามือโลก เมื่อปีค.ค. 2018

ควันหลง #วันภาษามือโลก กับ #เกร็ดความรู้ 5️⃣ ข้อ 🖐

#InternationalDayofSignLanguages #23Sept

หนูอยากได้ยินเสียงแม่ รุ่นที่ 9 [LIVE] on Facebook

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , on


[ LIVE Streaming ]
“หนูอยากได้ยินเสียงแม่ รุ่นที่ 9”
เสวนา และเปิดรับสมัครเด็กอายุไม่เกิน 3 ปีที่หูพิการตั้งแต่กำเนิดเพื่อเข้าร่วมโครงการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมของมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับแผนกโสต ศอ นาสิก รพ. ราชวิถี จัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน และได้ทราบถึงทางเลือกในการสื่อสารของบุตรหลาน โดยมีวิทยากรเข้าร่วมเสวนาดังนี้
 
1. นพ. ดาวิน เยาวพลกุล นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก รพ.​ราชวิถี จะพูดเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของการสูญเสียการได้ยิน และการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม

2. คุณสุปราณี บุญมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จะมาเล่าขั้นตอนการรับบริการผ่าตัดประสาทหูเทียม

3. ดร. มลิวัลย์ ธรรมแสง ประธานฝ่ายวิชาการ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จะเล่าถึงการสนับสนุนจากมูลนิธิฯ

4. คุณอารีรักษ์ เดชยงค์ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายปฏิบัติการ จะมาคุยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการฟังและการพูดของน้อง ๆ หลังการผ่าตัด

5. คุณกรธัช ธนูศิลป์ ผู้ปกครองจากโครงการผ่าตัดประสาทหูเทียมรุ่นที่ 4 จะมาเล่าประสบการณ์ของน้องเจเจ

6. คุณกิตติพล มีสกุล ผู้ปกครองจากโครงการผ่าตัดประสาทหูเทียมรุ่นที่ 5 จะมาเล่าถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของน้องแฝด
 
และดำเนินรายการโดย
คุณสวิตตา ศรจิตติ
 
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมชมการเสวนาออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook Page Deafthaifoundation

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2564
เวลา 09.30-12.00 น.

และเปิดรับลงทะเบียนสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ
ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป

Bangkok Youth Giving Tree จัดโครงการบริจาคหน้ากากแบบใสให้น้องหูหนวก

Categories: กิจกรรมจัดหาทุน, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , on
ยอดบริจาครวมวันที่ 29 กรกฎาคม 2564
Bangkok Youth Giving Tree ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมช่วยเหลือน้องๆ ผู้พิการทางการได้ยิน โดยการบริจาคเป็นเงินหรือหน้ากากอนามัยแบบใส เพื่อให้น้องๆ สามารถอ่านริมฝีปากได้เมื่อสนทนากัน
เพื่อนๆ สามารถบริจาคเงินผ่านบัญชี มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขา ราชวัตร เลขที่ 094-1-34813-1
ใบเสร็จการบริจาคสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 1 เท่า
ส่งหลักฐานการโอนเงิน พร้อมแจ้งชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ในการออกใบเสร็จไปที่มูลนิธิฯ ได้ ทางไลน์ @deafthai
email : info@deafthai.org
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มูลนิธิฯ โทร. 02 241 5169 และ Facebook Page : Deafthaifoundation
 

 

ทูลเกล้าถวายแจกันดอกไม้ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์ on

วันที่ 7 กรกฎาคม 2564
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ โปรดให้ผู้แทนพระองค์ เชิญสิ่งของประทาน เงินจำนวน 25,300 บาท เจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย ให้แก่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ 13 กรกฎาคม 2564

โอกาสนี้ นางมลิวัลย์ ธรรมแสง ประธานฝ่ายวิชาการ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นผู้แทนคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน ทูลเกล้าถวายแจกันดอกไม้ ด้วยความสำนึกในพระกรุณาธิคุณ

 

“หมอกหรือควัน” กับเรื่องราวเบื้องหลังท่าภาษามือในตำนาน

Format: วีดีโอCategories: บทความที่น่าสนใจTags: , , , , on

 

หมอกจางจางและควัน
คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้
อยากจะถามดู
ว่าเธอเป็นอย่างหมอกหรือควัน

หมอกจะงดงามและทำให้เยือกเย็น
แสนจะเย็นสบายเมื่อยามเช้า
ถ้าเป็นควันไฟถึงจะบางเบา
หากเข้าในตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา

เธอเป็นยังไงจึงอยากรู้
เพราะฉันดูเธอไม่ออก ยังคงไม่เข้าใจ
บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว
และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน
ฉันนั้นชักไม่มั่นใจ

เพราะถ้าฉันต้องเสี่ยงกับควันไฟ
จะเตรียมตัวและเตรียมใจถอนตัว
เพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

หมอกจะงดงามและทำให้เยือกเย็น
แสนจะเย็นสบายเมื่อยามเช้า
ถ้าเป็นควันไฟถึงจะบางเบา
หากเข้าในตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา

เธอเป็นยังไงจึงอยากรู้
เพราะฉันดูเธอไม่ออก ยังคงไม่เข้าใจ
บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว
และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน
ฉันนั้นชักไม่มั่นใจ

เพราะถ้าฉันต้องเสี่ยงกับควันไฟ
จะเตรียมตัวและเตรียมใจถอนตัว
เพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

ถอนตัวเพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา
จะถอนตัวเพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

 

เราว่าต้องมีหลายคนที่แอบทำท่าภาษามือตามเนื้อร้องของเพลงนี้

และเชื่อว่าหลายคนรู้จักภาษามือและคนหูหนวกเป็นครั้งแรกเพราะเพลงนี้เช่นกัน

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี พ.ศ.2533

ไม่มีใครไม่รู้จัก พี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์

นักร้องที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดตลอดกาลคนหนึ่งของวงการบันเทิงไทย

และอัลบั้มที่มาแรงที่สุดในปีนั้นก็คือ “บูมเมอแรง”

อัลบั้มนี้รวมเพลงที่ดังระเบิดของพี่เบิร์ดไว้หลายเพลง

รวมถึงเพลง “หมอกหรือควัน” เพลงนี้ด้วย

 

ย้อนกลับไปอีก 5 ปี ในปีพ.ศ. 2528

ณ เวลานั้นคนทั่วไปยังไม่ค่อยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับคนหูหนวก

ยังไม่รู้จักว่าคนหูหนวกเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร

และไม่รู้วิธีที่จะสื่อสารกับคนหูหนวก

จึงเหมือนกับว่าโลกของคนหูดีและคนหูหนวกนั้น

ตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง

 

แต่อยู่มาวันหนึ่ง สิ่งแปลกใหม่ก็เกิดขึ้นในวงการโทรทัศน์

ในรายการ “เวทีวาที” รายการทอล์กโชว์ที่มีชื่อเสียงทั่วฟ้าเมืองไทย

ของพิธีกรและนักพูดระดับตำนาน คุณแอ้-กรรณิกา ธรรมเกษร

ที่มุมขวาล่างของจอโทรทัศน์ ปรากฏว่ามีจอเล็ก ๆ โผล่ขึ้นมาอีกจอหนึ่ง

และในจอเล็ก ๆ นั้น มีคนที่คอยทำหน้าที่สื่อสาร

แปลภาษาพูดของเหล่านักพูดที่มาในรายการ

ให้กลายเป็นภาษามือเพื่อให้คนหูหนวกที่ชมรายการอยู่ทางบ้าน

ได้เข้าใจเนื้อหาสาระของรายการไป

และได้รับความบันเทิงไปพร้อมๆ กับสมาชิกในครอบครัว

นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้เรารู้จัก “ล่ามภาษามือ”

ทำให้เราได้รับรู้ว่ามีคนหูหนวกอยู่ร่วมกับเราในสังคม

และเป็นผู้ชมรายการโทรทัศน์เช่นเดียวกับทุกคน

 

จากนั้น โลกของคนหูดีและคนหูหนวกก็ค่อย ๆ เชื่อมเข้าหากัน

คนทั่วไปสนใจที่จะสื่อสารกับคนหูหนวกมากขึ้น

และในปี 2533 นั้นเอง ประเทศไทยก็ได้ต้อนรับ Alexander Wesley Jones

นักเรียนหูหนวกคนแรกในโครงการ AFS (American Field Service) จากสหรัฐอเมริกา

มาเรียนร่วมกับเด็กหูหนวกไทยที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์

ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Alex เป็นเด็กหูหนวกอเมริกัน จึงใช้ภาษามืออเมริกัน

Host family หรือครอบครัวที่จะรับ Alex มาอยู่ร่วมกันได้

จึงต้องมีผู้ที่ใช้ภาษามืออเมริกันได้ 

จริงๆ แล้ว Alex เลือกจะไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

แต่ไม่มีครอบครัวไหนสามารถรับ Alex ไปอยู่ด้วยได้

ทาง Gallaudet University กรุง Washington D.C.

จึงแนะนำให้ AFS ติดต่อมายังดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง

ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ภาษามืออเมริกันได้ 

Alex เล่าให้เราฟังว่า วินาทีที่ดร.มลิวัลย์ โอบกอด Alex ตอนเจอกันครั้งแรก

เขาก็รู้ได้ทันทีว่าเขาอยู่กับ “แม่” คนไทยคนนี้ได้แน่นอน 

ดังนั้น Alex จึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง

ล่ามภาษามือทางโทรทัศน์คนแรกของประเทศไทย

ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ อยู่ในขณะนั้น

 

Alex หรือ “เล็ก” ชื่อเล่นภาษาไทยที่ดร.มลิวัลย์เป็นคนตั้งให้

เป็นเด็กที่กล้าแสดงออก มีความสนใจและความถนัดด้านการละคร และการเต้น

เมื่อคุณบุษบา ดาวเรือง ครีเอทีฟชื่อดังจากแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ในขณะนั้น

ติดต่อมาที่โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ เพื่อให้ดร.มลิวัลย์

เป็นผู้ฝึกสอนภาษามือให้กับพี่เบิร์ด ในเพลง “หมอกหรือควัน”

ที่จะแสดงในคอนเสิร์ตใหญ่คือคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด ตอนที่ 4 

“มันอยู่ในมือมนุษย์บูมเมอแรง” 

ดร.มลิวัลย์จึงได้เสนอความคิดเห็นว่าอยากให้ “เล็ก”

เป็นคนไปสอนท่าภาษามือให้กับพี่เบิร์ดแทน

เพราะ “เล็ก” เป็นวัยรุ่นฝรั่ง ดูจะมีอะไรน่ารักน่าสนใจมากกว่า

และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้รู้จักกับคนหูหนวกมากยิ่งขึ้น

จากนั้นดร.มลิวัลย์และ “เล็ก”ก็ร่วมกันคิดท่าภาษามือประกอบเพลง “หมอกหรือควัน”

โดยคัดเลือกท่าภาษามือที่สวยงาม ดูแล้วเข้ากับเนื้อร้องและทำนอง

ไปนำเสนอคุณบุษบา ดาวเรือง ซึ่งมีส่วนร่วมออกความคิดเห็น

และดูความเหมาะสมสวยงามเพื่อไปฝึกสอนให้กับพี่เบิร์ด

                  

ในวันแสดงคอนเสิร์ต ภาษามือในเพลง “หมอกหรือควัน”

ก็สร้างปรากฏการณ์ฮือฮาขึ้นในวงการบันเทิงแบบพลุแตก

เพราะเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำภาษามือมาแสดงในคอนเสิร์ต

โดยศิลปินตัวพ่อของวงการอย่างพี่เบิร์ด-ธงไชย

กลายเป็นไวรัลกระแสฮิตทำภาษามือตามพี่เบิร์ดกันทั้งบ้านทั้งเมือง

ตั้งแต่ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายด้วยซ้ำไป

 

จากวันนั้นถึงวันนี้ ภาษามือซึ่งรู้จักเพียงในหมู่ของคนหูหนวก

ได้กลายมาเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

เห็นได้จากความนิยมในการเรียนภาษามือ

ซึ่งทางมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์

จัดการเรียนการสอนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานนับสิบปีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

แต่มีความจำเป็นต้องหยุดชั่วคราวเนื่องจากพิษโควิด-19

และทุกวันนี้ล่ามภาษามือที่เป็นของแปลกใหม่ในสมัยนั้น

ได้กลายมาเป็นบริการสาธารณะของรัฐที่ต้องจัดให้กับคนหูหนวก/หูตึง

เพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมตามสิทธิมนุษยชน

 

ในปี 2564 นี้เราอาจจะได้เห็นภาพการใช้ภาษามือประกอบการร้องเพลงอีกครั้ง

แต่จะเป็นศิลปินท่านใด จะตรงกับที่เราคิดไว้หรือไม่

ต้องติดตามชม

 



 

 

 

 

 

 

EXIM 1 ปันสุข…ให้น้องได้ยินเสียง

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , , , , on
วันที่ 15 มิ.ย. 2564 มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำโดยนายศุขสนั่น โชติกเสถียร ประธานกรรมการ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและพนักงานจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นำโดยดร. รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ซึ่งให้เกียรติมาเยี่ยมชมศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียม (DDCC Thailand) ศูนย์บริการให้คำแนะนำแบบเบ็ดเสร็จและฝึกพูดฝึกฟังให้เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมกันนี้ทางคณะ EXIM BANK ได้บริจาคเงินสนับสนุนมูลนิธิฯ จำนวน 100,000 บาท คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 10 เครื่อง และของเล่นเด็กก่อนวัยเรียนอีกจำนวนมากเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ รู้สึกซาบซึ้งยินดีและขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้
 
ดูข้อมูลเกี่ยวกับ DDCC Thailand ได้ที่ https://www.deafthai.org/ddccthailand/
หรือติดต่อไลน์ @DDCCThailand
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

No Music No Run Vol. 2

Categories: กิจกรรมจัดหาทุน, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , on

 

No Music No Run Vol.2  เพลงมาขาแรง ปีที่ 2 

SOUL Thailand อัศวโสภณ และไทยรัน จัดกิจกรรมวิ่ง VR: No Music No Run เพลงมาขาแรง ปีที่ 2  ในช่วงวันที่ 1 มีนาคม – 5 มิถุนายน 2564 หารายได้สมทบทุนมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์เพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยฟังให้เด็กหูหนวก โดยให้ผู้สมัครวิ่งที่ไหนเวลาใดก็ได้แล้วส่งผลการวิ่งทาง social media งานนี้มีเสื้อสวย ๆ ออกแบบโดยศิลปินนักเขียนการ์ตูนอิสระ ไตรภพ สุภวัฒนา (PUCK) ให้นักวิ่งได้สะสมอีกด้วย

รายได้จากการจัดกิจกรรมนี้ทั้งหมด 49,850 บาท จะนำไปใช้ในโครงการจัดซื้อเครื่องช่วยฟังให้เด็กหูหนวกต่อไป 

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ 

 

#เค้กไข่ใจบุญ

Categories: กิจกรรมจัดหาทุน, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , on

จากโครงการข้าวแช่ใจบุญ ที่สามารถระดมทุนได้ถึง​ 1,738,700 บาท​
เพื่อสานต่อโครงการ #หนูอยากได้ยินเสียงแม่ กับการผ่าตัดใส่ #ประสาทหูเทียม เพื่อให้เด็กหูหนวกแต่กำเนิด
#ได้ยินเสียงและพูดได้ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อหูข้างละ 500,000 บาท​
มาสู่โครงการ #เค้กไข่ใจบุญ #ให้น้อง​ได้ยิน เพื่อสมทบทุน #มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์ อีกครั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยน้องหูหนวกได้อีก 1 คน จากที่สามารถสนับสนุนทุนให้น้องหูหนวกได้แล้ว 3 คน คือน้องไอเดีย น้องทิกเกอร์ และน้องเฌอ

.
เค้กไข่ใจบุญ จะมาร่วมสร้างปรากฏการณ์คนใจดีขึ้นอีกครั้ง โดยมอบความหอมอร่อยพร้อมกับความห่วงใยในสุขภาพให้ทุกๆ ท่าน
.
✅ไม่มีส่วนผสมของนมวัว
✅ใช้ไข่ Organic Free Range
✅ปลอดภัยจากฮอร์โมนและยาปฎิชีวนะ
✅ใช้เกลือหิมาลัย และน้ำมันรำข้าว
.
ราคากล่องละ 390 บาท (ไม่รวมค่าส่ง)
รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่าย
มอบให้มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก
ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อสมทบทุนผ่าตัดประสาทหูเทียมให้เด็กหูหนวก
.

ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ คุณเดียร์ โทร. 064-319-2299 Line ID @munch.me
.
สั่งจองได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมดนะครับ😉

 

#ข้าวแช่ใจบุญ

Categories: กิจกรรมจัดหาทุน, ข่าวประชาสัมพันธ์Tags: , , on

 

จากวันนั้นที่เราแจ้งข่าวว่ามีคนใจดีอาสาทำ #ข้าวแช่ใจบุญ หารายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่าย มอบให้มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์เพื่อสมทบทุนโครงการ หนูอยากได้ยินเสียงแม่ ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมให้เด็กหูหนวก ในช่วงเดือนเมษายน 2564 เป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็ม โดยเบื้องต้นตั้งเป้าไว้ที่ 5 แสนบาทเพื่อช่วยเด็กหูหนวก 1 คนใส่ประสาทหูเทียม 1 เครื่อง

แต่เนื่องจากมีผู้ใจบุญเป็นจำนวนมากได้ให้การสนับสนุน ทั้งสั่งซื้อและส่งข่าวแชร์ต่อ ๆ กันไปจนกลายเป็นไวรัลของโลกออนไลน์ ทำให้ข้าวแช่ใจบุญมีคนถามหาและอุดหนุนอย่างล้นหลาม จนทำรายได้ทั้งหมดไปกว่า 1 ล้าน 7 แสนบาท สามารถช่วยเด็กหูหนวกให้ได้ยินเสียงแม่เพิ่มมากขึ้นรวมเป็นสามคนด้วยกัน นั่นคือ ด.ญ. ธัญวลัย การินธิ (น้องไอเดีย) ด.ช. ปัญญากร ปั่นจวบสุข (น้องทิกเกอร์) และด.ญ. ดลลลินทร์ พุ่มรัก (น้องเฌอ)

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอขอบพระคุณท่านผู้มีจิตเมตตาทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ร่วมมือร่วมใจกันมอบโลกใหม่แห่งสรรพเสียงให้แก่น้อง ๆ ทั้งสาม

แล้วอย่าลืมมาติดตามกันนะครับว่าน้อง ๆ จะมีพัฒนาการอย่างไรกันบ้าง และเราจะช่วยเหลือเด็กหูหนวกครบ 70 คนในโอกาสครบรอบ 70 มูลนิธิฯ ในปีหน้าได้หรือไม่

สำหรับตอนนี้มาแสดงความยินดีกับน้อง ๆ ทั้งสามคนกันก่อนครับ🤟😃🌟❤️

#หนูอยากได้ยินเสียงแม่
#ประสาทหูเทียม

104D9239-AB60-4AFC-9BFD-7E856619E7B5
CE2B839D-9FF1-4EAF-B395-39BA1673A281
39AE6D6A-3EDA-419F-AEA1-DED739C45527
DED51DC7-627E-42D4-AB3F-E3183BAB5EAA
FE48FA42-4789-4CAD-953D-4B750EEA9BD2
51F7E593-8E4A-4D82-A993-4415FB779BC7
06455465-EFF4-41D8-9A09-BE0386D8E25B

 

ศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียม

Categories: บทความที่น่าสนใจTags: , , , , , , on

                                 
                      หลักการและเหตุผล

            จากการสำรวจความพิการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2560 พบว่ามีคนพิการจำนวน 3.7 ล้านคน หรือร้อยละ 5.5 ของประชากรทั้งประเทศ ในจำนวนนี้มีคนพิการทางการได้ยินซึ่งเป็นผู้พิการที่มีจำนวนมากเป็นอันดับที่สองเป็นร้อยละ 18.65 ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทั้งหมด (372,189 คน) ส่วนอัตราอุบัติการของการสูญเสียการได้ยินยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด 

            ศ. เกียรติคุณ พญ. สุจิตรา ประสานสุข พบว่ามีความชุกของคนหูหนวกที่ร้อยละ 0.2-0.5 และโครงการทะเบียนประสาทหูเทียมพบว่าทารกแรกเกิดและมีชีพในปี 2560 จะมีเด็กหูหนวกประมาณ 328 คนต่อปี หากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการคัดกรองและให้ความช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม เด็กเหล่านี้จะพลาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับศักยภาพ ส่งผลให้ครอบครัวต้องรับภาระการที่มีเด็กที่พิการทางการได้ยิน ขาดการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็ก และความพร้อมของครอบครัวส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ครอบครัว และสังคม

          ปัจจุบันการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการได้ยินให้กับผู้ที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิดและภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์และได้รับความเชื่อถือ ดังจะเห็นได้จากการที่กรมบัญชีกลางอนุมัติค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ประสาทหูเทียมให้แก่ผู้มีสิทธิเบิกจ่ายทางราชการได้ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สิทธิ์ได้รับการอนุเคราะห์จากทางราชการ  มูลนิธิฯ จึงได้จัดโครงการสนับสนุนค่าจัดหาอุปกรณ์ประสาทหูเทียมให้เด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ผ่านการตรวจวินิจฉัยจากทางการแพทย์ และการคัดกรองจากนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ควรได้รับการพิจารณาสนับสนุน

           โครงการ หนูอยากได้ยินเสียงแม่ ของมูลนิธิฯ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547 และทุก ๆ ปีมูลนิธิฯ ได้พิจารณาสนับสนุนทุนในการผ่าตัดประสาทหูเทียมมาอย่างต่อเนื่อง เด็กหูหนวกคนแรกที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมคนแรกของโครงการหนูอยากได้ยินเสียงแม่คือ นางสาวประทุมวรรณ สัตถาผล หรือน้องฟ้าใส ปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

           จากการศึกษาวิจัยเรื่องการประเมินความพร้อมของระบบสุขภาพในการให้บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพในประเทศไทย (2562) พบว่าการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมีความคุ้มค่ามากที่สุดในเด็กเล็ก และการตัดสินใจของผู้ปกครองเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่สำคัญมาก ตลอดจนความคาดหวังที่สมเหตุสมผลในประสิทธิผล และความสามารถในการใช้การได้ยินจากประสาทหูเทียมอย่างเต็มศักยภาพนั้นขึ้นอยู่กับการที่พ่อแม่ผู้ปกครองครูและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินและการจัดการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ถูกต้องเป็นสำคัญ

           แม้ว่าการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทยจะเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นเวลา 35 ปีมาแล้วก็ตาม ประเทศไทยก็ยังไม่มีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมของทางราชการ ที่ประชาชนทั่วไปตลอดจนพ่อแม่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้ามาเยี่ยมชมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจในการให้บุตรหลานใช้ประสาทหูเทียมหรือไม่อย่างถูกต้องโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

          มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการให้การสนับสนุนให้พ่อแม่ของเด็กหูหนวกและหูตึงรุนแรงมีทางเลือกในการสื่อสารการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกตลอดมา จึงเห็นความสำคัญของการมีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาดังกล่าวอาจเป็นศูนย์การศึกษาพิเศษที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์บริการทางการศึกษาของรัฐและเอกชนหรือโรงเรียนโสตศึกษาทั่วไป เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิดก่อนการตัดสินใจ เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินต่อไป

                   วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นศูนย์สาธิตการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินสำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมและครอบครัว ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากมูลนิธิฯและเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมทั่วไป
  • เป็นศูนย์สาธิตวิธีการสอนพูดโดยใช้ทักษะการฟัง (Auditory Verbal Teaching) สำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษา
  • เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ สำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมและครอบครัว ทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษา การสนับสนุนด้านการจัดหาอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน การปรับเครื่องประสาทหูเทียม และการแนะแนวการศึกษา
  • เป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ด้านการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับครอบครัวของเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในประเทศไทย

                      กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กที่มูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนทุนในการจัดหาเครื่องประสาทหูเทียมแต่ละปีประมาณ 20 ราย และเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ประสงค์จะเข้ารับการพัฒนา
  • เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ต้องการได้รับการฝึกพูดโดยใช้ทักษะการฟังในโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ จำนวน 13 คน
  • พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กหูหนวกที่ประสงค์จะใช้เทคโนโลยีประสาทหูเทียมในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และการศึกษา ปีละ 100 คน

                      ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ได้มีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษาเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • ผู้ปกครองที่ใช้ประสาทหูเทียม ได้รับบริการแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร คำปรึกษาและบริการที่จำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาทางเลือกในการสื่อสารการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและสอดคล้องกับเศรษฐสถานะของผู้ปกครอง
  • บุคลากรที่ประสงค์และมีหน้าที่ในการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมได้รับการฝึกทักษะและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

                       ตัวชี้วัดความสำเร็จ

         เป้าหมายของโครงการนี้คือ เป็นศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษาที่ให้บริการคำปรึกษาและการช่วยเหลือในการใช้ประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพการฟังและการพูดภายหลังการผ่าตัดอย่างครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service for C.I. Recipients) และเพื่อให้เป็นต้นแบบแห่งการให้บริการนี้ในสถานศึกษาอื่น ๆ เช่นศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์บริการเด็กหูหนวกและครอบครัว โรงเรียนโสตศึกษาของรัฐและเอกชน ตลอดจนเป็นศูนย์บ้านเรียนสำหรับผู้ปกครองของเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ดังจะเห็นจากตัวชี้วัดต่อไปนี้

  • เด็กหูหนวกที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ได้รับการสนับสนุนทุนอุปกรณ์เครื่องประสาทหูเทียมจากมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังและการพูดอย่างน้อยร้อยละ 80
  • ผู้ปกครองของเด็กหูหนวก หูตึง ได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องทางเลือกในการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กและความพร้อมของผู้ปกครองอย่างน้อยร้อยละ 80
  • ผู้ปกครองมีความพอใจในการบริการแบบเบ็ดเสร็จของศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมอย่างน้อยร้อยละ 80
  • บุคลากรที่ประสงค์จะพัฒนาทักษะวิธีสอนพูดโดยใช้ทักษะการฟังมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนพูดให้เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ80
  • บุคลากรที่เข้ามารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในศูนย์สาธิตนี้มีความพึงพอใจในการบริการต่าง ๆ ที่ศูนย์จัดให้อย่างน้อยร้อยละ 80

 

 

 

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this