ติดต่อมูลนิธิฯ

คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ ร่วมพิธีทำบุญอาคารคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ

Categories: activities, ข่าวประชาสัมพันธ์, บทความที่น่าสนใจTags: , , , , on

[ข่าวกิจกรรม]
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 คณะกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์เข้าร่วมพิธีเชิญรูปปั้นคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ ขึ้นบ้านคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ (สำนักงานมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ) ในการนี้ได้นิมนต์พระสงฆ์จากวัดน้อยนพคุณมาประกอบพิธีทำบุญอาคาร โดยมีนายธงชัย ณ นคร เหรัญญิกมูลนิธิฯ เป็นประธานในพิธีแทนนายศุขสนั่น โชติกเสถียร ประธานกรรมการ

อาคารคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ ปิดปรับปรุงเพื่อซ่อมแซมเป็นระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2565 โดยอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งของสำนักงานมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ ซึ่งอยู่ในบริเวณรร.เศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ถนนพระรามห้า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2495 และเนื่องในโอกาสที่มูลนิธิฯ มีอายุครบรอบ 70 ปีเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการจึงเห็นสมควรให้มีการบำรุงซ่อมแซมรักษาอาคารแห่งนี้จนเสร็จสิ้น เพื่อให้คงทนสวยงามเป็นอาคารอนุรักษ์อันน่าภาคภูมิใจของชุมชนในย่านนี้สืบต่อไป

 

50 ปี การเดินทาง ของ”หนังสือภาษามือไทย”

Categories: บทความที่น่าสนใจTags: on
5️⃣0️⃣ปี” การเดินทางของ 🚶‍♀️
📘“หนังสือภาษามือไทย”✋👂👄
 
📌จากหนังสือแบบเรียนภาษามือเล่มแรก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2509
📌1️⃣4️⃣ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ
📘“หนังสือแบบเรียน ภาษามือ เล่มแรก เกิดขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2509 เป็นเวลากว่า 14 ปี หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ ขึ้นมา พร้อมกับโรงเรียนสอนคนหูหนวกแห่งแรกในประเทศไทย
📘หนังสือภาษามือ “เล่มแรก” โดยแผนกการศึกษาสงเคราะห์ กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
โดยมีคำอธิบายเป็นตัวหนังสืออย่างเดียว ยังไม่มีภาพภาษามือประกอบ”
📘✋👂👄📘
 
 
 
📘พุทธศักราช 2526 หนังสือภาษามือเล่มที่ 2 และเป็นเล่มแรกที่มีภาพประกอบ
3️⃣1️⃣ ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ” ✋👂👄
ในปีพุทธศักราช 2526 ในประเทศไทยมีหนังสือภาษามือ ที่มีภาพประกอบ เป็น “เล่มแรก” หลังจากที่ ก่อตั้งมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูนวกฯ มาแล้ว 31 ปี และมีระยะเวลาห่างจาก หนังสือภาษามือ เล่มแรก (ยังไม่มีภาพประกอบ) ถึง 17 ปี จึงเกิดหนังสือแบบเรียนภาษามือ เล่มที่ 2 และเป็นหนังสือภาษามือ เล่มแรกที่มีภาพประกอบ แทนคำบรรยายอย่างเดียว จัดทำโดย กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
🏫✋👂👄
 
 
📘พุทธศักราช 2529-2533 อีก 3 ปีต่อมามีการรวบรวม เกิดเป็น “ปทานุกรมภาษามือไทย” เล่มแรก และมีฉบับต่อขยายเพิ่มเติมในปี 2533
📌“ปทานุกรมภาษามือไทย เล่มแรก” 📘✋👂👄
ในปีพุทธศักราช 2529 ในประเทศไทยมี ปทานุกรมภาษามือ เป็นเล่มแรก ห่างมาจากการมีหนังสือภาษามือมีภาพประกอบเล่มแรก มาอีก 3 ปี เป็นการสาธิตภาษามือได้อย่างชัดเจน ให้ทราบถึงความหมายต่าง ๆ และการสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานานของภาษามือไทย เป็นงานภาษามือที่ถูกต้องฉบับแรกที่จัดพิมพ์ขึ้นด้วยภาษามือไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยวากยสัมพันธ์ และไวยากรณ์ของตัวเอง แตกต่างจากภาษาพูดของไทย และมีเล่มขยายเพิ่มเติม ใน พ.ศ.2533 (เล่มสีเขียว)📗✋👂👄
 
📘พุทธศักราช 2544 11 ปีต่อมาจึงเกิดแบบเรียนหนังสือภาษามือไทยแบบแบ่งคำศัพท์เป็นหมวดหมู่ 6 เล่ม ขึ้นมา
📌4️⃣9️⃣ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ
“ในปีพุทธศักราช 2544 หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ 49 ปี เกิดหนังสือแบบเรียนภาษามือ แบบชุด 6 เล่ม ตั้งแต่เล่ม 1-6 โดยสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย และนับจากหนังสือภาษามือเล่มแรก ในปี 2509 มาเป็นเวลา 35 ปี เป็นการรวบรวมคำศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่ ถึง 6 เล่ม เพื่อให้คนหูหนวกที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนถึงบุคคลทั่วไปได้เข้าถึงอย่างถูกต้อง”
📘✋👂👄
 
📘พุทธศักราช 2559 นับเป็น 50 ปี ที่เกิดหนังสือภาษามือไทยเล่มแรกเกิดขึ้นมา
จึงเกิด
💻“เว็บไซต์พจนานุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” ที่รวบรวมภาษามือไทยในรูปแบบเว็บไซต์ มีวิดีโอ เห็นการเคลื่อนไหวของมือ สีหน้า ท่าทาง ได้ชัดเจน และสมบูรณ์แบบ
🏫✋👂👄📘
📌6️⃣4️⃣ปี” หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ
ในปีพุทธศักราช 2559 หลังจากก่อตั้งมูลนิธิฯ 64 ปี สำนักราชบัณฑิตยสภา ได้เปิดใช้งาน “เว็บไซต์พจนุกรมภาษามือไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559
เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สร้างนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของคนหูหนวก เข้าถึงได้ง่าย เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2551 และนับเป็นเวลากว่า 50 ปี จากที่เกิดหนังสือภาษามือเล่มแรกขึ้นมา
💻📱
 
นับเป็นการเดินทางที่ได้เห็นการเติบโตและพัฒนาการศึกษาของคนหูหนวกและหนังสือภาษามือของไทยได้ชัดเจนขึ้น
มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ริเริ่มและให้ความสำคัญกับการศึกษาของคนหูหนวกมาตลอด
จนครบรอบสู่ปีที่ 69 เราก็ยังคงก้าวไปข้างหน้าเพื่อพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกต่อไป
🏫✋👂👄📘

วันภาษามือโลก

Categories: บทความที่น่าสนใจTags: , on
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 23 กันยายนของทุกปี เป็นวันภาษามือโลก เมื่อปีค.ค. 2018

ควันหลง #วันภาษามือโลก กับ #เกร็ดความรู้ 5️⃣ ข้อ 🖐

#InternationalDayofSignLanguages #23Sept

“หมอกหรือควัน” กับเรื่องราวเบื้องหลังท่าภาษามือในตำนาน

Format: วีดีโอCategories: บทความที่น่าสนใจTags: , , , , on

 

หมอกจางจางและควัน
คล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้
อยากจะถามดู
ว่าเธอเป็นอย่างหมอกหรือควัน

หมอกจะงดงามและทำให้เยือกเย็น
แสนจะเย็นสบายเมื่อยามเช้า
ถ้าเป็นควันไฟถึงจะบางเบา
หากเข้าในตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา

เธอเป็นยังไงจึงอยากรู้
เพราะฉันดูเธอไม่ออก ยังคงไม่เข้าใจ
บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว
และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน
ฉันนั้นชักไม่มั่นใจ

เพราะถ้าฉันต้องเสี่ยงกับควันไฟ
จะเตรียมตัวและเตรียมใจถอนตัว
เพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

หมอกจะงดงามและทำให้เยือกเย็น
แสนจะเย็นสบายเมื่อยามเช้า
ถ้าเป็นควันไฟถึงจะบางเบา
หากเข้าในตาเราก็คงจะทำให้เสียน้ำตา

เธอเป็นยังไงจึงอยากรู้
เพราะฉันดูเธอไม่ออก ยังคงไม่เข้าใจ
บางทีเธอเป็นเช่นหมอกขาว
และบางคราวเธอเป็นเหมือนควัน
ฉันนั้นชักไม่มั่นใจ

เพราะถ้าฉันต้องเสี่ยงกับควันไฟ
จะเตรียมตัวและเตรียมใจถอนตัว
เพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

ถอนตัวเพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา
จะถอนตัวเพราะว่ากลัวจะเสียน้ำตา

 

เราว่าต้องมีหลายคนที่แอบทำท่าภาษามือตามเนื้อร้องของเพลงนี้

และเชื่อว่าหลายคนรู้จักภาษามือและคนหูหนวกเป็นครั้งแรกเพราะเพลงนี้เช่นกัน

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี พ.ศ.2533

ไม่มีใครไม่รู้จัก พี่เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์

นักร้องที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดตลอดกาลคนหนึ่งของวงการบันเทิงไทย

และอัลบั้มที่มาแรงที่สุดในปีนั้นก็คือ “บูมเมอแรง”

อัลบั้มนี้รวมเพลงที่ดังระเบิดของพี่เบิร์ดไว้หลายเพลง

รวมถึงเพลง “หมอกหรือควัน” เพลงนี้ด้วย

 

ย้อนกลับไปอีก 5 ปี ในปีพ.ศ. 2528

ณ เวลานั้นคนทั่วไปยังไม่ค่อยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับคนหูหนวก

ยังไม่รู้จักว่าคนหูหนวกเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตอย่างไร

และไม่รู้วิธีที่จะสื่อสารกับคนหูหนวก

จึงเหมือนกับว่าโลกของคนหูดีและคนหูหนวกนั้น

ตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง

 

แต่อยู่มาวันหนึ่ง สิ่งแปลกใหม่ก็เกิดขึ้นในวงการโทรทัศน์

ในรายการ “เวทีวาที” รายการทอล์กโชว์ที่มีชื่อเสียงทั่วฟ้าเมืองไทย

ของพิธีกรและนักพูดระดับตำนาน คุณแอ้-กรรณิกา ธรรมเกษร

ที่มุมขวาล่างของจอโทรทัศน์ ปรากฏว่ามีจอเล็ก ๆ โผล่ขึ้นมาอีกจอหนึ่ง

และในจอเล็ก ๆ นั้น มีคนที่คอยทำหน้าที่สื่อสาร

แปลภาษาพูดของเหล่านักพูดที่มาในรายการ

ให้กลายเป็นภาษามือเพื่อให้คนหูหนวกที่ชมรายการอยู่ทางบ้าน

ได้เข้าใจเนื้อหาสาระของรายการไป

และได้รับความบันเทิงไปพร้อมๆ กับสมาชิกในครอบครัว

นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้เรารู้จัก “ล่ามภาษามือ”

ทำให้เราได้รับรู้ว่ามีคนหูหนวกอยู่ร่วมกับเราในสังคม

และเป็นผู้ชมรายการโทรทัศน์เช่นเดียวกับทุกคน

 

จากนั้น โลกของคนหูดีและคนหูหนวกก็ค่อย ๆ เชื่อมเข้าหากัน

คนทั่วไปสนใจที่จะสื่อสารกับคนหูหนวกมากขึ้น

และในปี 2533 นั้นเอง ประเทศไทยก็ได้ต้อนรับ Alexander Wesley Jones

นักเรียนหูหนวกคนแรกในโครงการ AFS (American Field Service) จากสหรัฐอเมริกา

มาเรียนร่วมกับเด็กหูหนวกไทยที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์

ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Alex เป็นเด็กหูหนวกอเมริกัน จึงใช้ภาษามืออเมริกัน

Host family หรือครอบครัวที่จะรับ Alex มาอยู่ร่วมกันได้

จึงต้องมีผู้ที่ใช้ภาษามืออเมริกันได้ 

จริงๆ แล้ว Alex เลือกจะไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น

แต่ไม่มีครอบครัวไหนสามารถรับ Alex ไปอยู่ด้วยได้

ทาง Gallaudet University กรุง Washington D.C.

จึงแนะนำให้ AFS ติดต่อมายังดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง

ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ภาษามืออเมริกันได้ 

Alex เล่าให้เราฟังว่า วินาทีที่ดร.มลิวัลย์ โอบกอด Alex ตอนเจอกันครั้งแรก

เขาก็รู้ได้ทันทีว่าเขาอยู่กับ “แม่” คนไทยคนนี้ได้แน่นอน 

ดังนั้น Alex จึงได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง

ล่ามภาษามือทางโทรทัศน์คนแรกของประเทศไทย

ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ อยู่ในขณะนั้น

 

Alex หรือ “เล็ก” ชื่อเล่นภาษาไทยที่ดร.มลิวัลย์เป็นคนตั้งให้

เป็นเด็กที่กล้าแสดงออก มีความสนใจและความถนัดด้านการละคร และการเต้น

เมื่อคุณบุษบา ดาวเรือง ครีเอทีฟชื่อดังจากแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ในขณะนั้น

ติดต่อมาที่โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ เพื่อให้ดร.มลิวัลย์

เป็นผู้ฝึกสอนภาษามือให้กับพี่เบิร์ด ในเพลง “หมอกหรือควัน”

ที่จะแสดงในคอนเสิร์ตใหญ่คือคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด ตอนที่ 4 

“มันอยู่ในมือมนุษย์บูมเมอแรง” 

ดร.มลิวัลย์จึงได้เสนอความคิดเห็นว่าอยากให้ “เล็ก”

เป็นคนไปสอนท่าภาษามือให้กับพี่เบิร์ดแทน

เพราะ “เล็ก” เป็นวัยรุ่นฝรั่ง ดูจะมีอะไรน่ารักน่าสนใจมากกว่า

และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้รู้จักกับคนหูหนวกมากยิ่งขึ้น

จากนั้นดร.มลิวัลย์และ “เล็ก”ก็ร่วมกันคิดท่าภาษามือประกอบเพลง “หมอกหรือควัน”

โดยคัดเลือกท่าภาษามือที่สวยงาม ดูแล้วเข้ากับเนื้อร้องและทำนอง

ไปนำเสนอคุณบุษบา ดาวเรือง ซึ่งมีส่วนร่วมออกความคิดเห็น

และดูความเหมาะสมสวยงามเพื่อไปฝึกสอนให้กับพี่เบิร์ด

                  

ในวันแสดงคอนเสิร์ต ภาษามือในเพลง “หมอกหรือควัน”

ก็สร้างปรากฏการณ์ฮือฮาขึ้นในวงการบันเทิงแบบพลุแตก

เพราะเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่นำภาษามือมาแสดงในคอนเสิร์ต

โดยศิลปินตัวพ่อของวงการอย่างพี่เบิร์ด-ธงไชย

กลายเป็นไวรัลกระแสฮิตทำภาษามือตามพี่เบิร์ดกันทั้งบ้านทั้งเมือง

ตั้งแต่ในยุคที่อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายด้วยซ้ำไป

 

จากวันนั้นถึงวันนี้ ภาษามือซึ่งรู้จักเพียงในหมู่ของคนหูหนวก

ได้กลายมาเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

เห็นได้จากความนิยมในการเรียนภาษามือ

ซึ่งทางมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์

จัดการเรียนการสอนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานนับสิบปีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

แต่มีความจำเป็นต้องหยุดชั่วคราวเนื่องจากพิษโควิด-19

และทุกวันนี้ล่ามภาษามือที่เป็นของแปลกใหม่ในสมัยนั้น

ได้กลายมาเป็นบริการสาธารณะของรัฐที่ต้องจัดให้กับคนหูหนวก/หูตึง

เพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมตามสิทธิมนุษยชน

 

ในปี 2564 นี้เราอาจจะได้เห็นภาพการใช้ภาษามือประกอบการร้องเพลงอีกครั้ง

แต่จะเป็นศิลปินท่านใด จะตรงกับที่เราคิดไว้หรือไม่

ต้องติดตามชม

 



 

 

 

 

 

 

ศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียม

Categories: บทความที่น่าสนใจTags: , , , , , , on

                                 
                      หลักการและเหตุผล

            จากการสำรวจความพิการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2560 พบว่ามีคนพิการจำนวน 3.7 ล้านคน หรือร้อยละ 5.5 ของประชากรทั้งประเทศ ในจำนวนนี้มีคนพิการทางการได้ยินซึ่งเป็นผู้พิการที่มีจำนวนมากเป็นอันดับที่สองเป็นร้อยละ 18.65 ของคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทั้งหมด (372,189 คน) ส่วนอัตราอุบัติการของการสูญเสียการได้ยินยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด 

            ศ. เกียรติคุณ พญ. สุจิตรา ประสานสุข พบว่ามีความชุกของคนหูหนวกที่ร้อยละ 0.2-0.5 และโครงการทะเบียนประสาทหูเทียมพบว่าทารกแรกเกิดและมีชีพในปี 2560 จะมีเด็กหูหนวกประมาณ 328 คนต่อปี หากเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการคัดกรองและให้ความช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม เด็กเหล่านี้จะพลาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมกับศักยภาพ ส่งผลให้ครอบครัวต้องรับภาระการที่มีเด็กที่พิการทางการได้ยิน ขาดการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็ก และความพร้อมของครอบครัวส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ครอบครัว และสังคม

          ปัจจุบันการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างการได้ยินให้กับผู้ที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่กำเนิดและภายหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ประจักษ์และได้รับความเชื่อถือ ดังจะเห็นได้จากการที่กรมบัญชีกลางอนุมัติค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ประสาทหูเทียมให้แก่ผู้มีสิทธิเบิกจ่ายทางราชการได้ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่สิทธิ์ได้รับการอนุเคราะห์จากทางราชการ  มูลนิธิฯ จึงได้จัดโครงการสนับสนุนค่าจัดหาอุปกรณ์ประสาทหูเทียมให้เด็กบกพร่องทางการได้ยินที่ผ่านการตรวจวินิจฉัยจากทางการแพทย์ และการคัดกรองจากนักสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ควรได้รับการพิจารณาสนับสนุน

           โครงการ หนูอยากได้ยินเสียงแม่ ของมูลนิธิฯ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2547 และทุก ๆ ปีมูลนิธิฯ ได้พิจารณาสนับสนุนทุนในการผ่าตัดประสาทหูเทียมมาอย่างต่อเนื่อง เด็กหูหนวกคนแรกที่ได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมคนแรกของโครงการหนูอยากได้ยินเสียงแม่คือ นางสาวประทุมวรรณ สัตถาผล หรือน้องฟ้าใส ปัจจุบันกำลังศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

           จากการศึกษาวิจัยเรื่องการประเมินความพร้อมของระบบสุขภาพในการให้บริการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพในประเทศไทย (2562) พบว่าการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมมีความคุ้มค่ามากที่สุดในเด็กเล็ก และการตัดสินใจของผู้ปกครองเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่สำคัญมาก ตลอดจนความคาดหวังที่สมเหตุสมผลในประสิทธิผล และความสามารถในการใช้การได้ยินจากประสาทหูเทียมอย่างเต็มศักยภาพนั้นขึ้นอยู่กับการที่พ่อแม่ผู้ปกครองครูและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินและการจัดการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ถูกต้องเป็นสำคัญ

           แม้ว่าการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทยจะเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นเวลา 35 ปีมาแล้วก็ตาม ประเทศไทยก็ยังไม่มีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมของทางราชการ ที่ประชาชนทั่วไปตลอดจนพ่อแม่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสามารถเข้ามาเยี่ยมชมศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจในการให้บุตรหลานใช้ประสาทหูเทียมหรือไม่อย่างถูกต้องโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

          มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการให้การสนับสนุนให้พ่อแม่ของเด็กหูหนวกและหูตึงรุนแรงมีทางเลือกในการสื่อสารการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนหูหนวกตลอดมา จึงเห็นความสำคัญของการมีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาดังกล่าวอาจเป็นศูนย์การศึกษาพิเศษที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการของกระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์บริการทางการศึกษาของรัฐและเอกชนหรือโรงเรียนโสตศึกษาทั่วไป เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวคิดก่อนการตัดสินใจ เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินต่อไป

                   วัตถุประสงค์

  • เพื่อเป็นศูนย์สาธิตการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินสำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมและครอบครัว ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากมูลนิธิฯและเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมทั่วไป
  • เป็นศูนย์สาธิตวิธีการสอนพูดโดยใช้ทักษะการฟัง (Auditory Verbal Teaching) สำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษา
  • เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ สำหรับเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมและครอบครัว ทั้งทางด้านข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษา การสนับสนุนด้านการจัดหาอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน การปรับเครื่องประสาทหูเทียม และการแนะแนวการศึกษา
  • เป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ด้านการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับครอบครัวของเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในประเทศไทย

                      กลุ่มเป้าหมาย

  • เด็กที่มูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนทุนในการจัดหาเครื่องประสาทหูเทียมแต่ละปีประมาณ 20 ราย และเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ประสงค์จะเข้ารับการพัฒนา
  • เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ต้องการได้รับการฝึกพูดโดยใช้ทักษะการฟังในโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ จำนวน 13 คน
  • พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กหูหนวกที่ประสงค์จะใช้เทคโนโลยีประสาทหูเทียมในการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และการศึกษา ปีละ 100 คน

                      ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ได้มีศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษาเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • ผู้ปกครองที่ใช้ประสาทหูเทียม ได้รับบริการแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว โดยได้รับข้อมูลข่าวสาร คำปรึกษาและบริการที่จำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาทางเลือกในการสื่อสารการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมกับศักยภาพของเด็กและสอดคล้องกับเศรษฐสถานะของผู้ปกครอง
  • บุคลากรที่ประสงค์และมีหน้าที่ในการพัฒนาทักษะการฟังและการพูดสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมได้รับการฝึกทักษะและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

                       ตัวชี้วัดความสำเร็จ

         เป้าหมายของโครงการนี้คือ เป็นศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในสถานศึกษาที่ให้บริการคำปรึกษาและการช่วยเหลือในการใช้ประสาทหูเทียมและการฟื้นฟูสมรรถภาพการฟังและการพูดภายหลังการผ่าตัดอย่างครบวงจรแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service for C.I. Recipients) และเพื่อให้เป็นต้นแบบแห่งการให้บริการนี้ในสถานศึกษาอื่น ๆ เช่นศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์บริการเด็กหูหนวกและครอบครัว โรงเรียนโสตศึกษาของรัฐและเอกชน ตลอดจนเป็นศูนย์บ้านเรียนสำหรับผู้ปกครองของเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมในจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ดังจะเห็นจากตัวชี้วัดต่อไปนี้

  • เด็กหูหนวกที่ใช้ประสาทหูเทียมที่ได้รับการสนับสนุนทุนอุปกรณ์เครื่องประสาทหูเทียมจากมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังและการพูดอย่างน้อยร้อยละ 80
  • ผู้ปกครองของเด็กหูหนวก หูตึง ได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องทางเลือกในการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของเด็กและความพร้อมของผู้ปกครองอย่างน้อยร้อยละ 80
  • ผู้ปกครองมีความพอใจในการบริการแบบเบ็ดเสร็จของศูนย์สาธิตและพัฒนาเด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมอย่างน้อยร้อยละ 80
  • บุคลากรที่ประสงค์จะพัฒนาทักษะวิธีสอนพูดโดยใช้ทักษะการฟังมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนพูดให้เด็กที่ใช้ประสาทหูเทียมเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ80
  • บุคลากรที่เข้ามารับการฝึกอบรมและศึกษาดูงานในศูนย์สาธิตนี้มีความพึงพอใจในการบริการต่าง ๆ ที่ศูนย์จัดให้อย่างน้อยร้อยละ 80

 

 

 

ความในใจจากพ่อแฝด วันการได้ยินโลก 2564

Categories: บทความที่น่าสนใจTags: , on

การได้ยินสำคัญต่อชีวิตเราแค่ไหน บางคนอาจจะไม่เคยนึกถึง เพราะเกิดมาเราก็ได้ยินเสียงต่างๆ อยู่แล้ว บางครั้งเรายังนึกรำคาญเสียงบางเสียงที่รู้สึกว่ารบกวนโสตประสาทเสียเหลือเกิน 

แต่สำหรับคุณกิตติพนธ์ มีสกุล การได้ยินมีค่ายิ่งกว่าสิ่งใดในโลก

คุณกิตติพนธ์เป็นคุณพ่อของลูกชายฝาแฝดวัยกำลังน่ารัก ชื่อเด็กชายนดลต์ และเด็กชายนภนต์ มีสกุล อายุ 3 ขวบ 3 เดือน แต่ใครจะรู้ว่าหนูน้อยฝาแฝดสองพี่น้องคู่นี้เกิดมาพร้อมกับหูที่ไม่ได้ยินทั้งสองข้างเหมือนๆ กัน 

หัวใจของคนเป็นพ่อแม่ เมื่อรู้ว่าลูกเกิดมาหูหนวกก็ย่อมทุกข์ทรมานใจ และอยากให้ลูกได้ยินเสียงพ่อ ได้ยินเสียงแม่ เหมือนเด็กทั่วๆ ไป 

แต่โลกของน้องแฝดก็ไม่ได้เงียบงันไปตลอดกาล

วันที่ 2 กรกฎาคม 2562 น้องแฝดได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมในหูทั้งสองข้างทั้งสองคนพร้อมกัน ในโครงการ หนูอยากได้ยินเสียงแม่ ของมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในขณะที่มีอายุ 1 ปี 7 เดือน

หลังจากได้รับการผ่าตัดแล้ว การที่น้องแฝดจะพูดได้เหมือนเด็กทั่วไปสมาชิกทุกคนในครอบครัวจะต้องตั้งใจฝึกฝนการฟังและการพูดให้น้องอย่างถึงที่สุด เพราะนอกเหนือจากการเข้าเรียนกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว ครอบครัวคือคนที่ใช้เวลาอยู่กับเด็กมากที่สุด 

เพราะมีครอบครัวที่เข้มแข็ง พร้อมจะฝ่าฟันอุปสรรคทุกสิ่งอย่างเพื่อให้น้องกลับมาได้ยินเป็นปกติ ในวันนี้ที่น้องทั้งสองอายุ 3 ขวบ 3 เดือน และมีอายุการได้ยิน 1 ปี 7 เดือนนับตั้งแต่วันที่เปิดเครื่องประสาทหูเทียม พัฒนาการทางภาษาพูดของน้องแฝดก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ 

เนื่องในวันการได้ยินโลก 3 มีนาคม 2564 มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอแสดงความยินดีกับครอบครัว ‘มีสกุล’ ที่ได้รับโอกาสในการเปลี่ยนโลกแห่งความเงียบของน้องแฝดให้กลายเป็นโลกแห่งสรรพเสียง

ถ้าจะถามว่าการได้ยินมีความหมายต่อชีวิตอย่างไร คงไม่มีใครเข้าใจได้ดีไปกว่าพ่อแม่ของลูกหูหนวกทุกคน 

#หนูอยากได้ยินเสียงแม่

 

 

ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม…คุ้มหรือไม่

Categories: บทความที่น่าสนใจ on

แม้บริบททางสังคมในปัจจุบันจะเอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่าคนหูหนวกมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน โดยเฉพาะการได้รับโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ แต่…จะมีอะไรที่ดีไปกว่าการได้รับโอกาสกลับมาได้ยินเหมือนกับคนทั่วไป


อยู่ที่การตัดสินใจอย่างรอบคอบ ด้วยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว ผู้ที่มีฐานะดีส่วนมากก็คงจะรีบตัดสินใจรับการผ่าตัดประสาทหูเทียมแม้จะต้องแลกกับค่าผ่าตัด และค่าอุปกรณ์รวมกันแล้วเฉียดล้านต่อ 1 ข้างก็ตาม “พ่อ แม่ที่มีลูกหูหนวก พอได้ยินว่ามีการผ่าตัดรักษาประสาทหูเทียมได้นี่ จะดีใจมาก ดีใจเหมือนถูกหวยเลย รางวัลที่หนึ่งด้วย เพื่อนๆ เขาที่ไม่ได้ผ่าส่วนใหญ่ก็เพราะสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว มันแพงมาก ผมโชคดีหน่อยที่ทำธุรกิจแล้วจังหวะเศรษฐกิจดี หาเงินได้ ลูกผมก็เลยได้ผ่า”

นี่เป็นเพียงบางส่วนของคำบอกเล่าจากผู้ที่เข้าร่วมให้ข้อมูลในโครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินเทคโนโลยีการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม : มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ และสังคม” ที่ดำเนินการโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขโครงการวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาถึงความคุ้มค่าของการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในคน 3 กลุ่มคือ กลุ่มเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน กลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน และกลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่เคยได้ยินและมีภาษาพูดมาก่อน นอกจากนี้ยังนำเสนอภาระงบประมาณของรัฐบาล หากบรรจุการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเข้าไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ อีกทั้งยังศึกษาถึงมุมมองทางสังคมของผู้ที่ตัดสินใจผ่าตัดประสาทหูเทียมและผู้ที่ตัดสินใจไม่ผ่าตัดประสาทหูเทียมด้วย


ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและภาระงบประมาณของรัฐ

อย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับว่าเครื่องประสาทหูเทียมมีประโยชน์จริงในการช่วยให้ผู้ที่หูหนวกสนิทสามารถกลับมาได้ยินอีกครั้ง แต่จากข้อจำกัดอันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลของการผ่าตัดค่าเครื่อง การดูแลรักษาเครื่อง รวมทั้งการฝึกฟังและพูดหลังจากการผ่าตัด ทำให้ผู้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีชนิดนี้ยังมีจำนวนไม่มากนัก

ประกอบ กับปัจจุบันมีเพียงสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเท่า นั้นที่เบิกจ่ายค่าผ่าตัดได้ตามที่จ่ายจริงรวมกับค่าเครื่องประสาทหูเทียม อีกไม่เกิน 850,000 บาท ส่วนผู้ประกันตนในโครงการประกันสังคม และผู้มีสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ยัง ไม่สามารถเบิกจ่ายได้หากจะถามว่าเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แล้วหน่วย งานอย่างสำนักงานประกันสังคมที่ดูแลกองทุนประกันสังคม กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลผู้ถือสิทธิบัตรทองอยู่นั้นควรจะให้สิทธิเบิกจ่ายที่เท่าเทียมกับสวัสดิการข้าราชการหรือไม่

ผลการศึกษาของโครงการวิจัยข้างต้นพบว่า ไม่คุ้มค่าที่รัฐบาลจะให้สิทธิเบิกจ่ายการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในทุกกองทุนสุขภาพ ของประเทศ เพราะตามที่กล่าวไปแล้วว่าเพียงแค่ค่าผ่าตัดและค่าเครื่องฯ รวมกันแล้วเฉียดล้าน ยังไม่รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาภายหลังการผ่าตัดอีก เช่น ค่าฝึกฟังและพูด ค่าแบตเตอรี่ที่ต้องเปลี่ยนเป็นประจำอย่างต่อเนื่องหากมีการเปิดเครื่องประสาทหูเทียมใช้ ทุกวันคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อปี ค่าซ่อมบำรุงและค่าอะไหล่ต่างๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อสิ้นสุดการรับประกันจากบริษัท ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ซึ่งหากรัฐบาลจะสนับสนุนการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและการฝึกฟังและพูดในช่วงปีแรก จะต้องมีภาระงบประมาณอยู่ที่ประมาณ 977,000 บาทต่อผู้ป่วย 1 รายเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบภาระงบประมาณกันภายในกลุ่มที่รับการผ่าตัด 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน กลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน และกลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่เคยได้ยินและมีภาษาพูดมาก่อน พบว่าการผ่าตัดประสาทหูเทียมในกลุ่มเด็กมีความคุ้มค่ามากกว่าอีกสองกลุ่ม

ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะให้บริการกับคนหูหนวกในกลุ่มนี้ทั้งหมดซึ่งในขณะที่ทำการศึกษามีเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน อายุระหว่าง 2-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 134,907 คน นั้น อาจต้องทยอยให้บริการเพื่อไม่ให้กระทบกับงบประมาณของรัฐในปีใดปีหนึ่งมาก เกินไป ซึ่งการศึกษานี้ได้สมมุติให้รัฐบาลสามารถให้บริการได้ทั้งหมดภายใน 2 ปี พบว่าจะมีค่าใช้จ่ายในภาครัฐถึง 66,000 ล้านบาท และ 72,000 ล้านบาท ในการให้บริการปีที่ 1และ 2 ตามลำดับ สำหรับปีต่อๆ ไปรัฐบาลจะมีภาระงบประมาณ5,000 ถึง 6,000 ล้านบาทต่อปี สำหรับให้บริการผู้หูหนวกรายใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 5,053 คนต่อปี

อย่างไรก็ตามในการศึกษายังได้คำนวณเพิ่มเติมในกรณีที่รัฐบาลตัดสินใจให้บริการเพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งหมดพบว่าจะต้องเตรียมงบประมาณเป็นจำนวน 66,000 ล้านบาท ในปีแรกและลดลงเหลือ 36,000 ล้านบาท และ 21,000 ล้านบาทในปีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ


แง่คิดด้านสังคม

ด้วยค่าใช้จ่ายที่แพงลิบลิ่ว ทำให้ผู้ที่ตัดสินใจผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมไปแล้วรวมถึงคนรอบข้าง ย่อมมีความคาดหวังต่อประสิทธิผลของเทคโนโลยีสูงตามไปด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ได้รับการผ่าตัดจะสามารถกลับมาฟังและพูดได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการได้รับการฝึกฟัง และพูด และปรับจูนเครื่องประสาทหูเทียมหลังจากผ่าตัด

นอกจากนี้การผ่าตัดในผู้ที่หูหนวกบางกลุ่มที่มีการสื่อสารด้วยภาษามือ การอ่านริมฝีปาก หรือการเขียนแทนภาษาพูดไปแล้วก็อาจเกิดประโยชน์ได้น้อย เพราะคนกลุ่มนี้มักเกิดความเบื่อหน่ายต่อการฝึกพูด และฟัง เนื่องจากสามารถใช้วิธีการสื่อสารที่ตนถนัดมาก่อนหน้านี้ได้สะดวกและรวดเร็วกว่า หรือบางรายอาจเกิดปัญหาในการเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนกลุ่มเดิมที่หูหนวก

ดังเช่นผู้ที่เข้าร่วมให้ข้อมูลในโครงการวิจัยรายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า “มี เพื่อนหูหนวกคนหนึ่งที่ใช้ภาษามือได้ดีตัดสินใจไปผ่าตัดหลังผ่าแล้ว เพื่อนคนนั้นก็กลายเป็นคนไม่ค่อยพูดค่อยจากับใครกลายเป็นคนเก็บตัว เหมือนหายสาบสูญไปจากเพื่อนๆ เลย”

ในบางกรณีที่ผู้ปกครองมองว่าการสูญเสียการได้ยินของลูกเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข และตัดสินใจให้ลูกเข้ารับการผ่าตัดโดยไม่ได้ถามความสมัครใจของลูกก่อนจนในที่สุดเมื่อผ่าตัดแล้วลูกเกิดการไม่ยอมรับ และไม่ใช้เครื่องในที่สุด ดังกรณีตัวอย่างรายหนึ่งในการศึกษาที่กล่าวว่า “เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีอยู่แล้ว ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องมาฝึกให้เสียเวลา”

อย่างไรก็ตามการผ่าตัดในผู้ที่มีอายุน้อย มีความพร้อมในการได้รับการฝึกฟัง และพูดหลังการผ่าตัด และผู้ที่เคยมีภาษาพูดมาก่อนแล้วยังไม่หลงลืมภาษาเหล่านั้นไป จะทำให้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเกิดประโยชน์สูงสุดได้เช่นกัน ดังกรณีตัวอย่างหลายกรณีที่เล่าประสบการณ์ เช่น “ถ้าถามว่าคุ้มไหมที่ให้ลูกผ่าตัดก็คิดว่าคุ้ม เพราะก่อนผ่าตัดประสาทหูเทียมกับลูกที่ไม่ได้ยินเลย หลังผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วเวลาเรียกเขาก็ได้ยิน เขาเรียนในโรงเรียน เรียนร่วมได้ ซึ่งก่อนผ่าตัดประสาทหูเทียมเขาต้องเรียนแยกตลอด”

หรือในกรณีนี้ที่เล่าว่า “คิด ว่าสิ่งที่คุ้มที่สุดก็คือสุขภาพจิตสมัยก่อนเวลาจะไปติดต่อพบปะพูดคุยกับใครจะกังวล และเครียดมาก ถ้าเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง อย่างเพื่อนชวนไปกินข้าวเนี่ยก็ไม่ไปแล้วแต่ถ้าจำเป็นเรื่องงานก็ต้องหาคน ที่เข้าใจเราไปกับเราด้วย เพราะกลัวว่าถ้าพูดกันไม่รู้เรื่องจะทำยังไง… ความมั่นใจหลังผ่าตัดก็ดีขึ้นเพราะปมมันหมดไป มั่นใจว่าเราจะอยู่ด้วยตัวเองได้อีกครั้ง พอเป็นอย่างนี้ก็รู้สึกว่าสุขภาพกายก็ไม่กังวลแล้ว ใจดีกายก็ดี ใจไม่ดีกายก็เหี่ยว”

จะเห็นได้ว่าแม้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะช่วยให้ผู้ที่หูหนวกกลับมาได้ยิน เหมือนกับคนทั่วไปได้ แต่ก็ยังมีข้อที่ควรคิดพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจมากมาย ทั้งความพร้อมในเรื่องภาระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่าเครื่อง ค่าผ่าตัด ค่าแบตเตอรี่ และค่าบำรุงรักษา ความพร้อมในเรื่องของเวลาที่จะต้องเข้ารับการฝึกฟังและพูดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเองด้วย

และสุดท้ายต้องไม่ลืมว่าการขวนขวายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นมีความสุขมากขึ้นเสมอไป คำตอบสุดท้ายของหลายกรณี กลับอยู่ที่การมีความสุขกับกลุ่มคนที่มีอะไรเหมือนกัน คุ้นเคยกัน ใช้การสื่อสารด้วยภาษามือ การอ่านริมฝีปาก และการเขียนแบบที่เป็นอยู่ โดยไม่ต้องควักเงินก้อนโตเพื่อแลกมาแต่อย่างใด


ขอขอบคุณบทความดีๆจาก INTIMEX  http://www.intimexhearing.com/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87/item/112-2014-02-04-04-14-07.html

เสียง มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ

Categories: บทความที่น่าสนใจ on

เสียง มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิถีการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างยิ่งยวด

ตั้งแต่แรกเกิด ทารกก็มีสัญชาตญาณในการใช้เสียงร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการ  และเมื่อผ่านผันวันเวลา มนุษย์ก็ได้เรียนรู้วิธีการไขความลับของธรรมชาติ ตลอดจนถ่ายทอดวิถีการดำรงชีวิต ผ่านการใช้เสียงในการสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากการอบรมเลี้ยงดูผ่านความรักความเอื้ออาทรของบิดามารดา ญาติพี่น้อง และผู้คนแวดล้อม   จึงนับได้ว่า เสียง มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภายในเป็นอย่างมาก ทั้งยังช่วยทำให้วิถีการดำรงชีวิตที่ถูกทำนองคลองธรรมตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น และส่งต่อหนุนเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมได้อีกด้วย

แต่กระนั้นเอง วิธีการเรียนรู้ดังกล่าวใช่ว่าจะใช้ได้กับทุกคน…

หากลองนึกถึงบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถือกำเนิดมาพร้อมกับความบกพร่องในการรับรู้ทางเสียง หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า คนหูหนวกนั้น คงมิอาจปฏิเสธได้ว่า ความบกพร่องดังกล่าวนี้ทำให้พวกเขามีข้อจำกัดในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภายในอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตในมุมที่ใครๆอาจไม่เคยคาดคิดมาก่อน

โดยปกติ คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าคนหูหนวกนั้นแม้จะไม่ได้ยินเสียง แต่ก็สามารถที่จะเรียนรู้โลกใบนี้ได้ผ่านการมองเห็น ทั้งคนหูหนวกยังมีภาษามือที่สามารถใช้ในการสื่อสารเช่นเดียวกับที่คนทั่วไปใช้ภาษาพูด  พิจารณาเผินๆ จึงไม่น่ามีอะไรแตกต่างในแง่ของการเรียนรู้โลก

หากแต่ในความเป็นจริง การเรียนรู้วิถีแห่งการดำรงชีวิตในบริบทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เป็นนามธรรมนั้น ไม่อาจถ่ายทอดได้อย่างลึกซึ้งผ่านการรับรู้ด้วยสายตาเพียงช่องทางเดียว   แม้แต่การถ่ายทอดเรื่องราวดังกล่าวด้วยการใช้ภาษามือเองก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้และทำความเข้าใจในความหมายของบาปบุญคุณโทษ คุณธรรม จริยธรรม คนทั่วไปอาจจะค่อยๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจความหมายของสิ่งนามธรรมเหล่านี้จากการพร่ำบอก พร่ำสอน ของบิดามารดา ครูอาจารย์ ตลอดจนผู้คนแวดล้อมตั้งแต่เล็กจนโต หรือแม้แต่เวลาที่เราได้มีโอกาสฟังคำสวดมนต์ คำเทศนาของพระสงฆ์ก็ตาม   น้ำเสียงและเนื้อเสียงนั้นไม่เพียงถ่ายทอดเนื้อหาความหมาย แต่ยังช่วยให้เรารับรู้ได้ถึงมนต์ขลังและความศักดิ์สิทธิ์ที่ถ่ายทอดมาพร้อมกันอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำว่า เสียง ไม่เพียงถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราว แต่ยังถ่ายทอดพลังที่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของผู้ฟัง และเป็นพลังที่ช่วยเกื้อหนุนให้บุคคลเข้าใจในคำสอนเหล่านั้นได้อย่างลึกซึ้ง

หากเสียงดังกล่าวนั้นหาได้สื่อเข้าไปถึงภายในของคนหูหนวกได้แม้แต่น้อย…

สำหรับพวกเขาแล้ว จะมีรูปภาพอันใดที่สามารถอธิบายความหมายของนามธรรมดังกล่าวได้อย่างลึกซึ้ง”

บาปกรรม คุณธรรม จริยธรรมแท้จริงหน้าตาเป็นอย่างไร” สิ่งเหล่านี้ทั้งมองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้

ในเมื่อเสียงอันเป็นสื่อกลางที่มีอานุภาพในการถ่ายทอดนามธรรมนั้น ไม่มีผลอันใดกับพวกเขา และในเมื่อการมองเห็นและการสื่อด้วยภาพต่างก็มีข้อจำกัด พวกเขาจึงต้องใช้วิธีการหรือช่องทางการเรียนรู้ในการพัฒนาจิตใจในอีกรูปแบบหนึ่ง ดังเช่น วิธีการเล่าเรื่อง (Story Telling)

โดยธรรมชาติคนหูหนวกจะรวมกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นสังคม เพื่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน และเรื่องราวต่างๆที่ว่านี้ยังถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้โดยผ่านการเล่าเรื่อง ทั้งนี้ เรื่องที่เล่าด้วยภาษามืออาจมีเนื้อหาสาระไม่แตกต่างจากเรื่องที่เล่าด้วยเสียงทั่วไปมากนัก ทว่า ธรรมชาติอันพิเศษของภาษามือ คือ ภาษาแห่งภาพ ที่สื่อสารผ่านมือทั้งสองข้าง พร้อมด้วยสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวที่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

อย่างเช่นการเข้าถึงศีล ๕ ผ่านการเล่าเรื่องด้วยละครบทบาทสมมติเพื่อให้คนหูหนวกรับรู้ เข้าใจ ซึมซับ และเชื่อมั่นศรัทธาในคุณค่าของการรักษาศีล การฆ่าสัตว์นั้นเป็นบาป แต่บาปกรรมนั้นเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง พลังแห่งละครเรื่องเล่าจึงนำพาคนหูหนวกเข้าถึงจิตใจภายในด้วยการแสดงออกถึงความรู้สึกของแต่ละฝ่ายผ่านสีหน้าท่าทาง เช่น เราปวดร้าวเพียงใดหากโดนทำร้ายจิตใจร่างกาย ผู้อื่นที่โดนทำร้ายก็มิได้ต่างจากเรา ดังนี้ จึงทำให้เข้าใจกันและกันมากขึ้น

การเล่าเรื่องโดยใช้ภาษามือ จึงเป็นเสมือนการเล่าเรื่องด้วยภาพที่เปี่ยมด้วยชีวิตและความรู้สึก

เรื่องเล่ามีอำนาจในการเข้าถึงจิตใจของผู้ฟังทั่วไปมากเท่าใด ยิ่งมีผลเป็นเท่าทวีคูณแก่คนหูหนวกมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้   โรงเรียนสอนคนหูหนวกจึงจัดให้มีชั่วโมงการเรียนการสอนที่ให้ครูเล่านิทานสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และแนวคิดด้านศาสนา โดยผสมผสานเนื้อหาทางวิชาการให้แก่ผู้เรียนเป็นประจำทุกวัน

แน่นอน ทุกเรื่องที่เล่าเป็นนิทานที่ไร้เสียง

อีกประเด็นหนึ่งที่มิอาจจะไม่กล่าวถึงก็คือ บทบาทของเสียงกับการสร้าง สุนทรียภาพทางจิตใจ

ธรรมชาติมิได้สร้างมนุษย์ให้ต่อสู้ดิ้นรนเพียงเพื่อที่จะมีชีวิตรอดบนโลกใบนี้เท่านั้น หากแต่มนุษย์ยังต้องการสุนทรียภาพทางจิตใจ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุขไปพร้อมๆกัน   มนุษย์จึงเรียนรู้ที่จะสร้างสุนทรียภาพจากสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งหนึ่งในสุนทรียภาพที่จรรโลงจิตวิญญาณของมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันก็คือสุนทรียภาพทางเสียง

มนุษย์พัฒนาเสียงตามธรรมชาติให้กลายเป็นเสียงที่มีจังหวะ มีความไพเราะ สามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก และช่วยกล่อมเกลาจิตใจของตนเอง แต่สำหรับคนหูหนวกนั้น พวกเขาจะสามารถรับรู้และสร้างสุนทรียภาพทางเสียงได้อย่างไร?–นั่นเป็นโจทย์ที่ชวนขบคิดไม่เบา

ก่อนจะตอบคำถามนี้ สิ่งที่เราจะลืมเสียมิได้ก็คือ คนหูหนวกแตกต่างจากคนอื่นๆตรงที่เขาไม่ได้ยินเสียงและพูดไม่ได้เท่านั้น หากแต่ความต้องการสุนทรียภาพเพื่อจรรโลงชีวิตและจิตใจก็มิได้แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้หวังดีหลายท่านพยายามที่จะช่วยให้คนหูหนวกมีโอกาสได้สัมผัสกับสุนทรียภาพเหล่านี้ โดยผ่านประสาทสัมผัสช่องทางอื่นแทน เช่น การรับรู้เสียงดนตรีจากการสัมผัสแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากการเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ   หรือ การรับรู้จังหวะดนตรีผ่านท่าทางของการเคลื่อนไหวที่สอดประสานกายและใจเข้าไว้ด้วยกัน

การได้ยินเป็นเพียงช่องทางหนึ่งของการใช้เสียงเพื่อเป็นสื่อนำสุนทรียภาพจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ภายในจิตใจเท่านั้น แต่กระนั้น สุนทรียภาพซึ่งเกิดขึ้นที่จิตใจก็มิได้เกิดจากการสดับผ่านโสตประสาทได้เพียงทางเดียว เพราะฉะนั้น หากเราสามารถค้นพบช่องทางอื่นที่สามารถถ่ายทอดเสียงให้เข้าถึงจิตวิญญาณภายในแล้ว เขาก็จะสัมผัสได้ถึงสุนทรียภาพเหล่านั้นได้ แม้อาจไม่สมบูรณ์เฉกเช่นคนธรรมดาทั่วไป

การไม่ได้ยินเสียงนั้นอาจเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับคนหูหนวกในการสื่อสารและการใช้ชีวิต แต่อุปสรรคที่ว่านี้ก็มิได้ลดทอนคุณค่าของชีวิตพวกเขาแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ยิ่งเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้พวกเขาต้องสู้ชีวิตมากขึ้น และเป็นแบบอย่างอันทรงคุณค่าให้แก่คนที่มีความสมบูรณ์พร้อมทางกายเสียยิ่งกว่า

ระหว่างคนหูหนวกและคนที่หูไม่หนวกอย่างเราๆ ภาษามือ ภาษาเขียน หรือภาษาท่าทางใดๆ อาจจะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ แต่โปรดอย่าลืมว่าสิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือ การสื่อสารด้วยภาษาใจ

ไม่ต้องอาศัยคำหรือสำเนียงเสียงใดๆ

ไม่จำเป็นต้องจินตนาการได้แจ่มชัดว่าโลกที่ไร้เสียงนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร

แค่เพียงเราได้เปิดพื้นที่ให้กับพวกเขา ด้วยการเปิดใจของเรา เท่านั้นก็เพียงพอ…

 

Source : http://semsikkha.org/tha/index.php/article/article-1/158-quiet

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this