Thanks for the concert, the show “Missing the King”

Categories: PR News on

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ ขอขอบคุณ คุณกฤษฎา โรจนกร คุณดนู ฮันตระกูล คุณกรวิช เทพหัสดิน ณ อยุธยา Habita Architects และไหมไทยทริโอ จัดงานคอนเสิร์ต การแสดงชุด “คิดถึงในหลวง” โดยมอบรายได้ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ วันที่ 28 มกราคม 2561 ณ Habita Architects
และภายในงานนักเรียนหูหนวกโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ได้ร่วมแสดงภาษามือประกอบเพลง “ลมหนาว”

 

Cochlear implant …. is it worth it?

Categories: articles on

แม้บริบททางสังคมในปัจจุบันจะเอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่าคนหูหนวกมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน โดยเฉพาะการได้รับโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ แต่…จะมีอะไรที่ดีไปกว่าการได้รับโอกาสกลับมาได้ยินเหมือนกับคนทั่วไป


อยู่ที่การตัดสินใจอย่างรอบคอบ ด้วยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว ผู้ที่มีฐานะดีส่วนมากก็คงจะรีบตัดสินใจรับการผ่าตัดประสาทหูเทียมแม้จะต้องแลกกับค่าผ่าตัด และค่าอุปกรณ์รวมกันแล้วเฉียดล้านต่อ 1 ข้างก็ตาม “พ่อ แม่ที่มีลูกหูหนวก พอได้ยินว่ามีการผ่าตัดรักษาประสาทหูเทียมได้นี่ จะดีใจมาก ดีใจเหมือนถูกหวยเลย รางวัลที่หนึ่งด้วย เพื่อนๆ เขาที่ไม่ได้ผ่าส่วนใหญ่ก็เพราะสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว มันแพงมาก ผมโชคดีหน่อยที่ทำธุรกิจแล้วจังหวะเศรษฐกิจดี หาเงินได้ ลูกผมก็เลยได้ผ่า”

นี่เป็นเพียงบางส่วนของคำบอกเล่าจากผู้ที่เข้าร่วมให้ข้อมูลในโครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินเทคโนโลยีการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม : มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ และสังคม” ที่ดำเนินการโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขโครงการวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาถึงความคุ้มค่าของการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในคน 3 กลุ่มคือ กลุ่มเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน กลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน และกลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่เคยได้ยินและมีภาษาพูดมาก่อน นอกจากนี้ยังนำเสนอภาระงบประมาณของรัฐบาล หากบรรจุการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเข้าไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ อีกทั้งยังศึกษาถึงมุมมองทางสังคมของผู้ที่ตัดสินใจผ่าตัดประสาทหูเทียมและผู้ที่ตัดสินใจไม่ผ่าตัดประสาทหูเทียมด้วย


ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและภาระงบประมาณของรัฐ

อย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับว่าเครื่องประสาทหูเทียมมีประโยชน์จริงในการช่วยให้ผู้ที่หูหนวกสนิทสามารถกลับมาได้ยินอีกครั้ง แต่จากข้อจำกัดอันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลของการผ่าตัดค่าเครื่อง การดูแลรักษาเครื่อง รวมทั้งการฝึกฟังและพูดหลังจากการผ่าตัด ทำให้ผู้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีชนิดนี้ยังมีจำนวนไม่มากนัก

ประกอบ กับปัจจุบันมีเพียงสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเท่า นั้นที่เบิกจ่ายค่าผ่าตัดได้ตามที่จ่ายจริงรวมกับค่าเครื่องประสาทหูเทียม อีกไม่เกิน 850,000 บาท ส่วนผู้ประกันตนในโครงการประกันสังคม และผู้มีสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ยัง ไม่สามารถเบิกจ่ายได้หากจะถามว่าเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แล้วหน่วย งานอย่างสำนักงานประกันสังคมที่ดูแลกองทุนประกันสังคม กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลผู้ถือสิทธิบัตรทองอยู่นั้นควรจะให้สิทธิเบิกจ่ายที่เท่าเทียมกับสวัสดิการข้าราชการหรือไม่

ผลการศึกษาของโครงการวิจัยข้างต้นพบว่า ไม่คุ้มค่าที่รัฐบาลจะให้สิทธิเบิกจ่ายการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในทุกกองทุนสุขภาพ ของประเทศ เพราะตามที่กล่าวไปแล้วว่าเพียงแค่ค่าผ่าตัดและค่าเครื่องฯ รวมกันแล้วเฉียดล้าน ยังไม่รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาภายหลังการผ่าตัดอีก เช่น ค่าฝึกฟังและพูด ค่าแบตเตอรี่ที่ต้องเปลี่ยนเป็นประจำอย่างต่อเนื่องหากมีการเปิดเครื่องประสาทหูเทียมใช้ ทุกวันคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อปี ค่าซ่อมบำรุงและค่าอะไหล่ต่างๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อสิ้นสุดการรับประกันจากบริษัท ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ซึ่งหากรัฐบาลจะสนับสนุนการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและการฝึกฟังและพูดในช่วงปีแรก จะต้องมีภาระงบประมาณอยู่ที่ประมาณ 977,000 บาทต่อผู้ป่วย 1 รายเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบภาระงบประมาณกันภายในกลุ่มที่รับการผ่าตัด 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน กลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน และกลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่เคยได้ยินและมีภาษาพูดมาก่อน พบว่าการผ่าตัดประสาทหูเทียมในกลุ่มเด็กมีความคุ้มค่ามากกว่าอีกสองกลุ่ม

ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะให้บริการกับคนหูหนวกในกลุ่มนี้ทั้งหมดซึ่งในขณะที่ทำการศึกษามีเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน อายุระหว่าง 2-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 134,907 คน นั้น อาจต้องทยอยให้บริการเพื่อไม่ให้กระทบกับงบประมาณของรัฐในปีใดปีหนึ่งมาก เกินไป ซึ่งการศึกษานี้ได้สมมุติให้รัฐบาลสามารถให้บริการได้ทั้งหมดภายใน 2 ปี พบว่าจะมีค่าใช้จ่ายในภาครัฐถึง 66,000 ล้านบาท และ 72,000 ล้านบาท ในการให้บริการปีที่ 1และ 2 ตามลำดับ สำหรับปีต่อๆ ไปรัฐบาลจะมีภาระงบประมาณ5,000 ถึง 6,000 ล้านบาทต่อปี สำหรับให้บริการผู้หูหนวกรายใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 5,053 คนต่อปี

อย่างไรก็ตามในการศึกษายังได้คำนวณเพิ่มเติมในกรณีที่รัฐบาลตัดสินใจให้บริการเพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งหมดพบว่าจะต้องเตรียมงบประมาณเป็นจำนวน 66,000 ล้านบาท ในปีแรกและลดลงเหลือ 36,000 ล้านบาท และ 21,000 ล้านบาทในปีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ


แง่คิดด้านสังคม

ด้วยค่าใช้จ่ายที่แพงลิบลิ่ว ทำให้ผู้ที่ตัดสินใจผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมไปแล้วรวมถึงคนรอบข้าง ย่อมมีความคาดหวังต่อประสิทธิผลของเทคโนโลยีสูงตามไปด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ได้รับการผ่าตัดจะสามารถกลับมาฟังและพูดได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการได้รับการฝึกฟัง และพูด และปรับจูนเครื่องประสาทหูเทียมหลังจากผ่าตัด

นอกจากนี้การผ่าตัดในผู้ที่หูหนวกบางกลุ่มที่มีการสื่อสารด้วยภาษามือ การอ่านริมฝีปาก หรือการเขียนแทนภาษาพูดไปแล้วก็อาจเกิดประโยชน์ได้น้อย เพราะคนกลุ่มนี้มักเกิดความเบื่อหน่ายต่อการฝึกพูด และฟัง เนื่องจากสามารถใช้วิธีการสื่อสารที่ตนถนัดมาก่อนหน้านี้ได้สะดวกและรวดเร็วกว่า หรือบางรายอาจเกิดปัญหาในการเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนกลุ่มเดิมที่หูหนวก

ดังเช่นผู้ที่เข้าร่วมให้ข้อมูลในโครงการวิจัยรายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า “มี เพื่อนหูหนวกคนหนึ่งที่ใช้ภาษามือได้ดีตัดสินใจไปผ่าตัดหลังผ่าแล้ว เพื่อนคนนั้นก็กลายเป็นคนไม่ค่อยพูดค่อยจากับใครกลายเป็นคนเก็บตัว เหมือนหายสาบสูญไปจากเพื่อนๆ เลย”

ในบางกรณีที่ผู้ปกครองมองว่าการสูญเสียการได้ยินของลูกเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข และตัดสินใจให้ลูกเข้ารับการผ่าตัดโดยไม่ได้ถามความสมัครใจของลูกก่อนจนในที่สุดเมื่อผ่าตัดแล้วลูกเกิดการไม่ยอมรับ และไม่ใช้เครื่องในที่สุด ดังกรณีตัวอย่างรายหนึ่งในการศึกษาที่กล่าวว่า “เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีอยู่แล้ว ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องมาฝึกให้เสียเวลา”

อย่างไรก็ตามการผ่าตัดในผู้ที่มีอายุน้อย มีความพร้อมในการได้รับการฝึกฟัง และพูดหลังการผ่าตัด และผู้ที่เคยมีภาษาพูดมาก่อนแล้วยังไม่หลงลืมภาษาเหล่านั้นไป จะทำให้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเกิดประโยชน์สูงสุดได้เช่นกัน ดังกรณีตัวอย่างหลายกรณีที่เล่าประสบการณ์ เช่น “ถ้าถามว่าคุ้มไหมที่ให้ลูกผ่าตัดก็คิดว่าคุ้ม เพราะก่อนผ่าตัดประสาทหูเทียมกับลูกที่ไม่ได้ยินเลย หลังผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วเวลาเรียกเขาก็ได้ยิน เขาเรียนในโรงเรียน เรียนร่วมได้ ซึ่งก่อนผ่าตัดประสาทหูเทียมเขาต้องเรียนแยกตลอด”

หรือในกรณีนี้ที่เล่าว่า “คิด ว่าสิ่งที่คุ้มที่สุดก็คือสุขภาพจิตสมัยก่อนเวลาจะไปติดต่อพบปะพูดคุยกับใครจะกังวล และเครียดมาก ถ้าเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง อย่างเพื่อนชวนไปกินข้าวเนี่ยก็ไม่ไปแล้วแต่ถ้าจำเป็นเรื่องงานก็ต้องหาคน ที่เข้าใจเราไปกับเราด้วย เพราะกลัวว่าถ้าพูดกันไม่รู้เรื่องจะทำยังไง… ความมั่นใจหลังผ่าตัดก็ดีขึ้นเพราะปมมันหมดไป มั่นใจว่าเราจะอยู่ด้วยตัวเองได้อีกครั้ง พอเป็นอย่างนี้ก็รู้สึกว่าสุขภาพกายก็ไม่กังวลแล้ว ใจดีกายก็ดี ใจไม่ดีกายก็เหี่ยว”

จะเห็นได้ว่าแม้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะช่วยให้ผู้ที่หูหนวกกลับมาได้ยิน เหมือนกับคนทั่วไปได้ แต่ก็ยังมีข้อที่ควรคิดพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจมากมาย ทั้งความพร้อมในเรื่องภาระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่าเครื่อง ค่าผ่าตัด ค่าแบตเตอรี่ และค่าบำรุงรักษา ความพร้อมในเรื่องของเวลาที่จะต้องเข้ารับการฝึกฟังและพูดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเองด้วย

และสุดท้ายต้องไม่ลืมว่าการขวนขวายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นมีความสุขมากขึ้นเสมอไป คำตอบสุดท้ายของหลายกรณี กลับอยู่ที่การมีความสุขกับกลุ่มคนที่มีอะไรเหมือนกัน คุ้นเคยกัน ใช้การสื่อสารด้วยภาษามือ การอ่านริมฝีปาก และการเขียนแบบที่เป็นอยู่ โดยไม่ต้องควักเงินก้อนโตเพื่อแลกมาแต่อย่างใด

Get to know the hearing aid.

Categories: articles on

ทำความรู้จักกับเครื่องช่วยฟัง
Categories: บทความที่น่าสนใจ on กุมภาพันธ์ 16, 2018
เครื่องช่วยฟัง คือ เครื่องขยายเสียงขนาดเล็กที่สามารถใส่ติดไว้ที่หู เพื่อทำหน้าที่ขยายเสียงพูดและเสียงจากสิ่งเเวดล้อมภายนอก ทำให้ผู้ฟังได้ยินเสียงดังขึ้น เครื่องช่วยฟังถือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เมื่อไรถึงจะใช้เครื่องช่วยฟัง ?

1.ผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการให้ยาหรือการผ่าตัด

2.การสูญเสียการได้ยินนั้นมีผลกระทบต่อการสื่อความหมายด้วยการฟังและการพูด

3.การสูญเสียการได้ยินที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูดในเด็ก

4.ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินจากโรคหูที่อาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัด แต่มีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือปฏิเสธการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหูนั้นๆ เช่น เป็นโรคหัวใจ เหลือการได้ยินเพียงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งหูหนวก เป็นต้น

การเลือกเครื่องช่วยฟังต้องดูอะไรบ้าง ?

1) ประเภทและระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเลือกกำลังขยายของเครื่องช่วยฟังเพื่อให้เหมาะสมกับระดับการได้ยินของผู้ป่วย
2) อายุ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นอาจมีปัญหาของกล้ามเนื้อมือซึ่งมักจะอ่อนแรงหรือเกิดอาการสั่น หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้มีความลำบากในการหยิบจับ การปรับปุ่มต่างๆ ของเครื่องช่วยฟัง ส่วนการเลือกเครื่องช่วยฟังในเด็กนั้นจะมีข้อ จำกัดในการเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟัง เนื่องจากสภาพการเจริญเติบโตของช่องหู ดังนั้นในเด็กที่มีอายุน้อยกว่านี้ควรใส่เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหูเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนพิมพ์หูเมื่อมีขนาดของช่องหูใหญ่ขึ้น
3) อาชีพอาชีพเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเลือกเครื่องช่วยฟังให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยบางรายที่ประกอบอาชีพที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารหรือพบปะผู้คนในสังคม อาจมีความต้องการใช้เครื่องช่วยฟังที่มีขนาดเล็กและผู้อื่นมองเห็นไม่ชัดเจน เพื่อภาพลักษณ์ทางสังคม
4) รูปแบบของเครื่องช่วยฟังและความสะดวกในการใช้งานรูปแบบของเครื่องช่วยฟัง และความสะดวกในการใช้งาน ขึ้นอยู่กับความต้องการและรูปแบบการใช้งานของผู้ป่วย
5) งบประมาณเครื่องช่วยฟังมีราคาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องช่วยฟัง ซึ่งการเลือกเครื่องช่วยฟัง ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ป่วยและความจำเป็นในการใช้งาน
6) บริการหลังการขายเครื่องช่วยฟังในปัจจุบันมีด้วยกันหลายยี่ห้อและหลายบริษัท ฉะนั้นการบริการหลังการขายจึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกเครื่องช่วยฟัง เพราะเครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ต้องการผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการซ่อมแซมเมื่อเครื่องช่วยฟังมีปัญหา

ควรปรับตัวกับการใช้เครื่องช่วยฟังอย่างไร ?

การเริ่มใส่ในผู้ใหญ่

เริ่มใส่ในช่วงเวลาสั้นๆ วันละหลายๆ ครั้งและค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการใช้นานขึ้นจนใส่ได้ทั้งวัน

ในช่วงแรก หากรู้สึกล้า ให้ถอดเครื่องออก
ควรฝึกการฟังเสียงที่เงียบในบ้านและเปิดเสียงเบาๆ ก่อน
คุยกับคนๆ เดียวในที่เงียบ และขยายไปที่ที่มีเสียงรบกวนบ้าง จากนั้นเริ่มฝึกฟังและพูดคุยกับคนหลายๆ คน
การดูโทรทัศน์ แนะนำให้ดูข่าวก่อน เนื่องจากพิธีกรจะพูดเสียงระดับเดียว ฟังง่าย
ฝึกฟังเสียงภายนอกโดยเริ่มจากที่เงียบๆ ก่อน และค่อยๆ ขยายไปที่ที่ดังขึ้น โดยลดระดับความดังลง การใส่เครื่องช่วยฟังในระยะแรกๆ นั้นอาจจะยังแยกเสียงไม่ได้ดีนัก ต้องอาศัยการฝึกฟังบ่อยๆ เพื่อให้เกิดการปรับตัวและความคุ้นเคยต่อเสียงที่ขยายผ่านเครื่องช่วยฟัง ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาและความอดทน เมื่อคุ้นเคยแล้วจะทำให้ ท่านมีความสุขในการฟังเสียงจากเครื่องช่วยฟัง
ฝึกปรับตัวกับเสียงในสิ่งแวดล้อม หมุนเปลี่ยนระดับความดังเมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรใช้ระดับความดังเสียงปกติที่ตั้งไว้
เมื่อไปในที่ที่มีเสียงดังมากๆ รู้สึกทนไม่ไหว ให้ถอดเครื่องเก็บ
ฝึกฟังแยกแยะเสียงที่คล้ายกัน เช่น ฟัน-ดัน , กบ-ขบ เป็นต้น ซึ่งอาจใช้การอ่านปากช่วย
หากมีปัญหาให้รีบมาพบนักแก้ไขการได้ยิน
อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ ให้ฝึกปรับตัวตามคำแนะนำต่อไป
การเริ่มใส่ในเด็ก
ควรเริ่มในขณะที่เด็กอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด อาจเป็นช่วงที่เด็กกำลังเล่นเพลินกับกิจกรรมที่ชื่นชอบ โดยเริ่มตามลำดับ ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 : เปิดเสียงที่ระดับความดังต่ำๆ ก่อน ใส่เป็นช่วงเวลาสั้นๆ อาจจะ 20-30 นาที ในขณะที่เด็กเล่นหรือดู ทีวีเพลินๆ (ระยะนี้ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด)
สัปดาห์ที่ 2 : เพิ่มความดังขึ้นเล็กน้อยและเพิ่มระยะเวลาในการใส่นานขึ้น อาจเป็น 1 หรือ 2 ชม. (สังเกตดูปฏิกิริยา ของเด็กด้วย) กระตุ้นให้เด็กฟังเสียงสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในบ้าน
สัปดาห์ที่ 3 : ปรับระดับความดังให้พอดี เพิ่มระยะเวลาการใส่ให้นานขึ้น อาจเป็น 2-3 ชม. (หรือนานเท่าที่เด็กรับ ได้) และกระตุ้นให้เด็กออกเสียงพูด หลังจากนี้ให้ค่อยๆ เพิ่มเวลาการใส่เครื่องช่วยฟังให้ได้นานขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวัน ละ 6 ชม. เป็นอย่างน้อย และพยายามฝึกสอนให้เด็กออกเสียงพูด การใส่เครื่องช่วยฟังนั้น ไม่ได้ทำให้เด็กพูดได้ทันทีที่ใส่ เด็กจะต้องได้รับการฝึกสอนการพูด ทั้งการฝึกฟังเสียงแยก เสียงและออกเสียงพูด ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและความอดทน
เราจะสื่อสารกับคนที่สูญเสียการได้ยินอย่างไร ?

ควรอยู่ห่างจากผู้ใช้เครื่องช่วยฟัง 3 – 6 ฟุต หันหน้าให้ตรงกัน และให้มีแสงสว่างบนใบหน้าของผู้พูดเพียงพอ แสงไฟไม่ ส่องเข้าตาคนไข้ ผู้พูดอยู่ในตำแหน่งที่คนไข้สามารถมองเห็นใบหน้าและปากของผู้พูดได้อย่างชัดเจน
ให้พูดตรงหน้าคนไข้ให้คนไข้เห็นหน้า อย่าพูดตรงข้างหูคนไข้
อย่าให้อะไรมาบดบังใบหน้า ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการสังเกตสีหน้าและการอ่านปากของคนไข้ เช่น แว่นตา บุหรี่
เรียกชื่อคนไข้ก่อนที่จะคุยกับเขา เพื่อให้เขาสนใจในตัวผู้พูด
พูดเสียงดังระดับปกติ พูดให้ชัดเจนด้วยความเร็วที่ช้ากว่าปกติ พูดประโยคสั้นๆ และหยุดระหว่างประโยค เพื่อให้คนไข้จับใจความสำคัญของบทสนทนาได้
ใช้ภาษาง่ายๆ ถ้าคนไข้ไม่เข้าใจ ควรพูดประโยคนั้นซ้ำ เปลี่ยนคำให้ง่ายขึ้น
ขณะสนทนากับคนไข้ อย่าตะโกน เนื่องจากจะทำให้เสียงที่ผ่านเครื่องช่วยฟังเข้าไปในหูคนไข้ผิดเพี้ยน
หากมีบางคำในประโยคที่ออกเสียงคล้ายกัน ให้พูดคำนั้นซ้ำ เน้นที่คำนั้นโดยไม่ต้องให้คนไข้ร้องขอให้พูดซ้ำ
หลีกเลี่ยงการสนทนาในที่ที่มีเสียงรบกวน เช่น เสียงโทรทัศน์ หรือ วิทยุ เพราะเสียงรบกวนจะทำให้คนไข้ฟังลำบาก ให้ชวนคนไข้ไปคุยในที่เงียบ และปิดแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนทั้งหลายก่อนเสมอ
บอกคนไข้ถึงหัวข้อที่กำลังสนทนาและเตือนคนไข้ให้รู้เมื่อมีการเปลี่ยนหัวข้อสนทนา
หากไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยพูดให้ถามผู้ป่วย
ทัศนคติสำคัญกับการใส่เครื่องช่วยฟังอย่างไร ?

ทัศนคติเกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยินและเครื่องช่วยฟังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เป็นการยากที่จะยอมรับความ
จริงที่ว่ามีการสูญเสียการได้ยินเกิดขึ้น ควรบอกกับครอบครัวและเพื่อนว่าท่านมีการสูญเสียการได้ยิน เพื่อให้การสนทนาของบุคคลเหล่านี้อยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการมองและการเข้าใจมากขึ้น ไม่ควรจะรู้สึกอับอายและซ่อนเครื่องช่วยฟังไว้ ให้คิดในแง่บวกเข้าไว้

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก http://www.audimed.co.th/knowledge.php?id=9

Not everyone remembers the first sound in life but they do.

Categories: Fund-Activities on

เพราะทุกคนจดจำเสียงแรกในชีวิตไม่ได้ แต่พวกเขาจดจำได้

August 16, 2016

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ จัดทำสื่อ ‘เสียงแรกในชีวิต’ หรือ ‘Welcome Sound’ เพื่อต้องการให้ทุกคนได้ชมว่าเด็กที่พิการหูหนวกแต่กำเนิด พวกเขากลับมาได้ยินและเริ่มพูดได้ ถ้าได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ในช่วงอายุ 0-4 ปี

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำคลิปวิดีโอเพื่อส่ง สารไปยังประชาชนทั่วไปได้รับรู้ว่า หากลูกๆบ้านไหนมีความพิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด พวกเขาจะสามารถกลับมาได้ยินและพูดได้อีกครั้ง หากเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ตั้งแต่อายุ 0-4 ปี และเมื่อเด็กเหล่านี้ได้ยิน พวกเขาก็จะเริ่มฝึกพูด และพูดได้ในที่สุด และอยากส่งสารนี้ไปยังผู้มีจิตเมตตาร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือสมทบทุนการ ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมให้กับน้องๆเหล่านี้

ถ้าหากใครได้ชมคลิปดังกล่าวแล้วจะได้เห็นและรับรู้เลยว่า มหัศจรรย์ของการได้ยินสำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิตนั้นเป็น อย่างไร กับรอยยิ้มของเด็กๆที่ได้ยินเสียงต่างๆเป็นครั้งแรก

 

ติดต่อขอเข้ารับการช่วยเหลือ

โทร. 02 2415169  โทรสาร  02 2436695

Line ID: @deafthai

หรือ inbox เข้ามาที่ www.facebook.com/deafthaifoundation

ร่วมบริจาคที่:

 

มูลนิธิฯ ขอขอบคุณในน้ำใจของทุกท่าน 🙂
#welcomesound

Granting scholarships to Songkhla Educational Audiovisual School

Categories: PR News on

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ มอบทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน และอุปกรณ์การเรียนให้แก่นักเรียนหูหนวกโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา
นำโดยคุณศุขสนั่น โชติกเสถียร ประธานกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรมการคุณธงชัย ณ นคร พลตำรวจโทหญิง พจนี สุนทรเกตุ พลตรีหญิงนงพงา ข่มไพรี
คุณภาวนา โชติกเสถียร และดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง : วันที่ 15 มิถุนายน 2561 ณ โรงเรียนโสดศึกษาจังหวัดสงขลา

 

 

 

 

 

 

 

 

Auditory Hearing

Categories: PR News on

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ จัดโครงการคัดกรองการได้ยินและบริการตรวจการได้ยินให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุโขทัย
นำโดย นายแพทย์โกเมน คงสกุล และนายบัญญัติ ทองเกื้อ จากโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ และดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง
: วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 ณ โรงเรียนสุโขทัย

 

            

 

            

 

 

 

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this