โครงการอบรมครูสอนเด็กหูหนวกและล่ามภาษามือ เพื่อสนับสนุนแก่สถานศึกษา องค์กร และหน่วยงานต่างๆ

หลักการและเหตุผล

คนหูหนวก คือ บุคคลพิการประเภทหนึ่งที่มีข้อจำกัดในการพูดและการได้ยิน ทำให้มีอุปสรรคในการสื่อสารความหมายกับคนทั่วไป และทำให้คนหูหนวกประสบปัญหาในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งทางด้านการศึกษา การฝึกอบรม การประกอบอาชีพ และการมีส่วนร่วมในสังคม ดังนั้น “ล่ามภาษามือ” ที่ช่วยสื่อสารระหว่างคนหูหนวกและคนหูดี จึงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนหูหนวกที่ได้รับการศึกษา การเขียนไม่สามารถช่วยในการสื่อสารระหว่างคนหูหนวกที่สื่อสารด้วย “ภาษามือ”

ปัจจุบันคนหูหนวกที่ได้รับการศึกษาสามารถพึ่งพาตนเองได้ระดับหนึ่ง แต่ยังมีคนหูหนวกอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาหรือรับรู้ข้อมูลข่าวสารเช่นเดียวกับคนทั่วไป สำหรับคนหูหนวกที่ได้รับการศึกษา การเขียนไม่สามารถช่วยในการสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับคนทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในการพบแพทย์ การแจ้งความหรือตัดสินคดี การศึกษา การฝึกอบรม การติดต่อขอรับบริการต่างๆ จากราชการ องค์กรต่างๆ และบริษัทต่างๆ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาค ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วรัฐจะต้องจัดให้มีศูนย์บริการล่ามภาษามือสำหรับคนหูหนวก ดังนั้นในขณะที่ประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตบุคลากรด้านนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหาทางช่วยเหลือและสนับสนุนให้บริการล่ามภาษามือแก่คนหูหนวก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของคนหูหนวก

ดังข้อกำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 20 คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังนี้ “ข้อ 7 บริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาของคนหูหนวก

2. เพื่อช่วยในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่คนหูหนวก

3. เพื่อช่วยสื่อสารในการฝึกอบรมวิชาชีพต่างๆ

4. เพื่อช่วยเหลือคนหูหนวกที่มีปัญหาในการติดต่อขอรับบริการต่างๆ จากหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน

5. เพื่อช่วยสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับคนหูปกติ หรือคนหูปกติกับคนหูหนวก ในสถานการณ์ต่างๆ และในการทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน

 

กลุ่มเป้าหมาย

1. คนหูหนวกที่อยู่ในระหว่างการศึกษาในทุกระดับ

2. คนหูหนวกทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องใช้ล่ามภาษามือ

3. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับคนหูหนวก ทั้งส่วนการศึกษาและการทำงาน

4. ผู้ปกครอง เพื่อน ญาติพี่น้อง และบุคคลทั่วไปที่ติดต่อกับคนหูหนวก

 

วิธีการดำเนินการ

1. จัดทำโครงการและแผนดำเนินการ เพื่อจัดหาทุนสนับสนุน

2. จัดทำงบประมาณเพื่อการอบรมและพัฒนาล่ามภาษามือ

3. ประชาสัมพันธ์และประสานงานการบริการล่ามภาษามือแก่คนหูหนวก และหน่วยงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนหูหนวก

4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. คนหูหนวกที่อยู่ในระหว่างการศึกษาในสถานศึกษาต่างๆ ได้การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. คนหูหนวกได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะให้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพ

3. คนหูหนวกได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพอย่างมีคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ได้ด้วยตนเอง

4. คนหูหนวกมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับคนทั่วไปได้อย่างเต็มที่

5. ปัญหาในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับคนปกติลดลง

 

การประเมินผล

ประเมินผลการดำเนินโครงการทุก 6 เดือน โดยการประเมินผลจาก

– จำนวนครูสอนเด็กหูหนวกและล่ามภาษามือที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการ

– จำนวนครั้ง และลักษณะของการบริการล่ามภาษามือ

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this