ขอขอบคุณ

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์ on

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ขอขอบคุณ บริษัท สยามรีเทลดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด ที่มอบเงินจากการจัดกิจกรรม “Gift to Give  2018”  จำนวนเงิน 100,000 บาท  (หนึ่งแสนบาทถ้วน)  ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์
: โดยมี ดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง เลขาธิการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ เป็นผู้รับมอบ  : วันที่ 10 มกราคม 2562

 

งานทำบุญคุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์ on

คุณศุขสนั่น โชติกเสถียร ประธานกรรมการ และคุณภาวนา โชติกเสถียร กรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ “คุณหญิงโต๊ะ นรเนติบัญชากิจ” วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์

 

          

 

ขอขอบคุณ กรุงศรีออโต้

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์ on

คุณศุขสนั่น  โชติกเสถียร ประธานกรรมการ , คุณธงชัย  ณ นคร และดร.มลิวัลย์  ธรรมแสง ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร และกล่าวขอบคุณ กรุงศรีออโต้ ที่มอบเงินจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์  /  วันที่ 11 กันยายน 2561 ณ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ

ขอขอบคุณ คุณเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร และสมาชิกเรือนช่างศิลป์ PFC

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์ on

คุณศุขสนั่น โชติกเสถียร ประธานกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ ขอขอบคุณ คุณเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร และสมาชิกเรือนช่างศิลป์ กลุ่มแฟนคลับคุณเป๊ก ผลิตโชค อายนบุตร มอบรายได้จากการจัดนิทรรศการ “One Man Story” ให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ จำนวนเงิน 903,805.46 บาท และขอขอบคุณ”โก๋แก่” ที่ได้นำถั่วลันเตา “โก๋แก่” มามอบให้เด็กหูหนวก.. 😊…/ วันที่ 2 กันยายน 2561 ณ มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์

 

 


มอบทุนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา

Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์ on

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ มอบทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน และอุปกรณ์การเรียนให้แก่นักเรียนหูหนวกโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา
นำโดยคุณศุขสนั่น โชติกเสถียร ประธานกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรมการคุณธงชัย ณ นคร พลตำรวจโทหญิง พจนี สุนทรเกตุ พลตรีหญิงนงพงา ข่มไพรี
คุณภาวนา โชติกเสถียร และดร.มลิวัลย์ ธรรมแสง : วันที่ 15 มิถุนายน 2561 ณ โรงเรียนโสดศึกษาจังหวัดสงขลา

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมจัดหาทุน

Categories: กิจกรรมจัดหาทุน on

เพราะทุกคนจดจำเสียงแรกในชีวิตไม่ได้ แต่พวกเขาจดจำได้

August 16, 2016

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ จัดทำสื่อ ‘เสียงแรกในชีวิต’ หรือ ‘Welcome Sound’ เพื่อต้องการให้ทุกคนได้ชมว่าเด็กที่พิการหูหนวกแต่กำเนิด พวกเขากลับมาได้ยินและเริ่มพูดได้ ถ้าได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ในช่วงอายุ 0-4 ปี

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำคลิปวิดีโอเพื่อส่ง สารไปยังประชาชนทั่วไปได้รับรู้ว่า หากลูกๆบ้านไหนมีความพิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด พวกเขาจะสามารถกลับมาได้ยินและพูดได้อีกครั้ง หากเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ตั้งแต่อายุ 0-4 ปี และเมื่อเด็กเหล่านี้ได้ยิน พวกเขาก็จะเริ่มฝึกพูด และพูดได้ในที่สุด และอยากส่งสารนี้ไปยังผู้มีจิตเมตตาร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือสมทบทุนการ ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมให้กับน้องๆเหล่านี้

ถ้าหากใครได้ชมคลิปดังกล่าวแล้วจะได้เห็นและรับรู้เลยว่า มหัศจรรย์ของการได้ยินสำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิตนั้นเป็น อย่างไร กับรอยยิ้มของเด็กๆที่ได้ยินเสียงต่างๆเป็นครั้งแรก

 

ติดต่อขอเข้ารับการช่วยเหลือ

โทร. 02 2415169  โทรสาร  02 2436695

Line ID: @deafthai

หรือ inbox เข้ามาที่ www.facebook.com/deafthaifoundation

ร่วมบริจาคที่:

 

มูลนิธิฯ ขอขอบคุณในน้ำใจของทุกท่าน 🙂
#welcomesound

ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม…คุ้มหรือไม่

Categories: บทความที่น่าสนใจ on

แม้บริบททางสังคมในปัจจุบันจะเอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่าคนหูหนวกมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน โดยเฉพาะการได้รับโอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพ แต่…จะมีอะไรที่ดีไปกว่าการได้รับโอกาสกลับมาได้ยินเหมือนกับคนทั่วไป


อยู่ที่การตัดสินใจอย่างรอบคอบ ด้วยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมแล้ว ผู้ที่มีฐานะดีส่วนมากก็คงจะรีบตัดสินใจรับการผ่าตัดประสาทหูเทียมแม้จะต้องแลกกับค่าผ่าตัด และค่าอุปกรณ์รวมกันแล้วเฉียดล้านต่อ 1 ข้างก็ตาม “พ่อ แม่ที่มีลูกหูหนวก พอได้ยินว่ามีการผ่าตัดรักษาประสาทหูเทียมได้นี่ จะดีใจมาก ดีใจเหมือนถูกหวยเลย รางวัลที่หนึ่งด้วย เพื่อนๆ เขาที่ไม่ได้ผ่าส่วนใหญ่ก็เพราะสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหว มันแพงมาก ผมโชคดีหน่อยที่ทำธุรกิจแล้วจังหวะเศรษฐกิจดี หาเงินได้ ลูกผมก็เลยได้ผ่า”

นี่เป็นเพียงบางส่วนของคำบอกเล่าจากผู้ที่เข้าร่วมให้ข้อมูลในโครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินเทคโนโลยีการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม : มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ และสังคม” ที่ดำเนินการโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขโครงการวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาถึงความคุ้มค่าของการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในคน 3 กลุ่มคือ กลุ่มเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน กลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน และกลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่เคยได้ยินและมีภาษาพูดมาก่อน นอกจากนี้ยังนำเสนอภาระงบประมาณของรัฐบาล หากบรรจุการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเข้าไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ อีกทั้งยังศึกษาถึงมุมมองทางสังคมของผู้ที่ตัดสินใจผ่าตัดประสาทหูเทียมและผู้ที่ตัดสินใจไม่ผ่าตัดประสาทหูเทียมด้วย


ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีและภาระงบประมาณของรัฐ

อย่างไรก็ตามคงต้องยอมรับว่าเครื่องประสาทหูเทียมมีประโยชน์จริงในการช่วยให้ผู้ที่หูหนวกสนิทสามารถกลับมาได้ยินอีกครั้ง แต่จากข้อจำกัดอันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลของการผ่าตัดค่าเครื่อง การดูแลรักษาเครื่อง รวมทั้งการฝึกฟังและพูดหลังจากการผ่าตัด ทำให้ผู้ที่เข้าถึงเทคโนโลยีชนิดนี้ยังมีจำนวนไม่มากนัก

ประกอบ กับปัจจุบันมีเพียงสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเท่า นั้นที่เบิกจ่ายค่าผ่าตัดได้ตามที่จ่ายจริงรวมกับค่าเครื่องประสาทหูเทียม อีกไม่เกิน 850,000 บาท ส่วนผู้ประกันตนในโครงการประกันสังคม และผู้มีสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ยัง ไม่สามารถเบิกจ่ายได้หากจะถามว่าเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แล้วหน่วย งานอย่างสำนักงานประกันสังคมที่ดูแลกองทุนประกันสังคม กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ดูแลผู้ถือสิทธิบัตรทองอยู่นั้นควรจะให้สิทธิเบิกจ่ายที่เท่าเทียมกับสวัสดิการข้าราชการหรือไม่

ผลการศึกษาของโครงการวิจัยข้างต้นพบว่า ไม่คุ้มค่าที่รัฐบาลจะให้สิทธิเบิกจ่ายการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในทุกกองทุนสุขภาพ ของประเทศ เพราะตามที่กล่าวไปแล้วว่าเพียงแค่ค่าผ่าตัดและค่าเครื่องฯ รวมกันแล้วเฉียดล้าน ยังไม่รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาภายหลังการผ่าตัดอีก เช่น ค่าฝึกฟังและพูด ค่าแบตเตอรี่ที่ต้องเปลี่ยนเป็นประจำอย่างต่อเนื่องหากมีการเปิดเครื่องประสาทหูเทียมใช้ ทุกวันคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อปี ค่าซ่อมบำรุงและค่าอะไหล่ต่างๆ ที่ต้องจ่ายเมื่อสิ้นสุดการรับประกันจากบริษัท ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ซึ่งหากรัฐบาลจะสนับสนุนการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมและการฝึกฟังและพูดในช่วงปีแรก จะต้องมีภาระงบประมาณอยู่ที่ประมาณ 977,000 บาทต่อผู้ป่วย 1 รายเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบภาระงบประมาณกันภายในกลุ่มที่รับการผ่าตัด 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน กลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน และกลุ่มผู้ใหญ่หูหนวกสนิททั้งสองข้างที่เคยได้ยินและมีภาษาพูดมาก่อน พบว่าการผ่าตัดประสาทหูเทียมในกลุ่มเด็กมีความคุ้มค่ามากกว่าอีกสองกลุ่ม

ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะให้บริการกับคนหูหนวกในกลุ่มนี้ทั้งหมดซึ่งในขณะที่ทำการศึกษามีเด็กหูหนวกสนิททั้งสองข้างที่ไม่เคยมีภาษาพูดมาก่อน อายุระหว่าง 2-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 134,907 คน นั้น อาจต้องทยอยให้บริการเพื่อไม่ให้กระทบกับงบประมาณของรัฐในปีใดปีหนึ่งมาก เกินไป ซึ่งการศึกษานี้ได้สมมุติให้รัฐบาลสามารถให้บริการได้ทั้งหมดภายใน 2 ปี พบว่าจะมีค่าใช้จ่ายในภาครัฐถึง 66,000 ล้านบาท และ 72,000 ล้านบาท ในการให้บริการปีที่ 1และ 2 ตามลำดับ สำหรับปีต่อๆ ไปรัฐบาลจะมีภาระงบประมาณ5,000 ถึง 6,000 ล้านบาทต่อปี สำหรับให้บริการผู้หูหนวกรายใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 5,053 คนต่อปี

อย่างไรก็ตามในการศึกษายังได้คำนวณเพิ่มเติมในกรณีที่รัฐบาลตัดสินใจให้บริการเพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งหมดพบว่าจะต้องเตรียมงบประมาณเป็นจำนวน 66,000 ล้านบาท ในปีแรกและลดลงเหลือ 36,000 ล้านบาท และ 21,000 ล้านบาทในปีที่ 2 และ 3 ตามลำดับ


แง่คิดด้านสังคม

ด้วยค่าใช้จ่ายที่แพงลิบลิ่ว ทำให้ผู้ที่ตัดสินใจผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมไปแล้วรวมถึงคนรอบข้าง ย่อมมีความคาดหวังต่อประสิทธิผลของเทคโนโลยีสูงตามไปด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงผู้ที่ได้รับการผ่าตัดจะสามารถกลับมาฟังและพูดได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการได้รับการฝึกฟัง และพูด และปรับจูนเครื่องประสาทหูเทียมหลังจากผ่าตัด

นอกจากนี้การผ่าตัดในผู้ที่หูหนวกบางกลุ่มที่มีการสื่อสารด้วยภาษามือ การอ่านริมฝีปาก หรือการเขียนแทนภาษาพูดไปแล้วก็อาจเกิดประโยชน์ได้น้อย เพราะคนกลุ่มนี้มักเกิดความเบื่อหน่ายต่อการฝึกพูด และฟัง เนื่องจากสามารถใช้วิธีการสื่อสารที่ตนถนัดมาก่อนหน้านี้ได้สะดวกและรวดเร็วกว่า หรือบางรายอาจเกิดปัญหาในการเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนกลุ่มเดิมที่หูหนวก

ดังเช่นผู้ที่เข้าร่วมให้ข้อมูลในโครงการวิจัยรายหนึ่งเล่าให้ฟังว่า “มี เพื่อนหูหนวกคนหนึ่งที่ใช้ภาษามือได้ดีตัดสินใจไปผ่าตัดหลังผ่าแล้ว เพื่อนคนนั้นก็กลายเป็นคนไม่ค่อยพูดค่อยจากับใครกลายเป็นคนเก็บตัว เหมือนหายสาบสูญไปจากเพื่อนๆ เลย”

ในบางกรณีที่ผู้ปกครองมองว่าการสูญเสียการได้ยินของลูกเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข และตัดสินใจให้ลูกเข้ารับการผ่าตัดโดยไม่ได้ถามความสมัครใจของลูกก่อนจนในที่สุดเมื่อผ่าตัดแล้วลูกเกิดการไม่ยอมรับ และไม่ใช้เครื่องในที่สุด ดังกรณีตัวอย่างรายหนึ่งในการศึกษาที่กล่าวว่า “เราสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดีอยู่แล้ว ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องมาฝึกให้เสียเวลา”

อย่างไรก็ตามการผ่าตัดในผู้ที่มีอายุน้อย มีความพร้อมในการได้รับการฝึกฟัง และพูดหลังการผ่าตัด และผู้ที่เคยมีภาษาพูดมาก่อนแล้วยังไม่หลงลืมภาษาเหล่านั้นไป จะทำให้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเกิดประโยชน์สูงสุดได้เช่นกัน ดังกรณีตัวอย่างหลายกรณีที่เล่าประสบการณ์ เช่น “ถ้าถามว่าคุ้มไหมที่ให้ลูกผ่าตัดก็คิดว่าคุ้ม เพราะก่อนผ่าตัดประสาทหูเทียมกับลูกที่ไม่ได้ยินเลย หลังผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วเวลาเรียกเขาก็ได้ยิน เขาเรียนในโรงเรียน เรียนร่วมได้ ซึ่งก่อนผ่าตัดประสาทหูเทียมเขาต้องเรียนแยกตลอด”

หรือในกรณีนี้ที่เล่าว่า “คิด ว่าสิ่งที่คุ้มที่สุดก็คือสุขภาพจิตสมัยก่อนเวลาจะไปติดต่อพบปะพูดคุยกับใครจะกังวล และเครียดมาก ถ้าเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง อย่างเพื่อนชวนไปกินข้าวเนี่ยก็ไม่ไปแล้วแต่ถ้าจำเป็นเรื่องงานก็ต้องหาคน ที่เข้าใจเราไปกับเราด้วย เพราะกลัวว่าถ้าพูดกันไม่รู้เรื่องจะทำยังไง… ความมั่นใจหลังผ่าตัดก็ดีขึ้นเพราะปมมันหมดไป มั่นใจว่าเราจะอยู่ด้วยตัวเองได้อีกครั้ง พอเป็นอย่างนี้ก็รู้สึกว่าสุขภาพกายก็ไม่กังวลแล้ว ใจดีกายก็ดี ใจไม่ดีกายก็เหี่ยว”

จะเห็นได้ว่าแม้การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมจะช่วยให้ผู้ที่หูหนวกกลับมาได้ยิน เหมือนกับคนทั่วไปได้ แต่ก็ยังมีข้อที่ควรคิดพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจมากมาย ทั้งความพร้อมในเรื่องภาระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ค่าเครื่อง ค่าผ่าตัด ค่าแบตเตอรี่ และค่าบำรุงรักษา ความพร้อมในเรื่องของเวลาที่จะต้องเข้ารับการฝึกฟังและพูดอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความพร้อมทางด้านจิตใจของผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดเองด้วย

และสุดท้ายต้องไม่ลืมว่าการขวนขวายเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้เทคโนโลยีนั้นมีความสุขมากขึ้นเสมอไป คำตอบสุดท้ายของหลายกรณี กลับอยู่ที่การมีความสุขกับกลุ่มคนที่มีอะไรเหมือนกัน คุ้นเคยกัน ใช้การสื่อสารด้วยภาษามือ การอ่านริมฝีปาก และการเขียนแบบที่เป็นอยู่ โดยไม่ต้องควักเงินก้อนโตเพื่อแลกมาแต่อย่างใด


ขอขอบคุณบทความดีๆจาก INTIMEX  http://www.intimexhearing.com/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87/item/112-2014-02-04-04-14-07.html

เสียง มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ

Categories: บทความที่น่าสนใจ on

เสียง มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิถีการเรียนรู้ของมนุษย์อย่างยิ่งยวด

ตั้งแต่แรกเกิด ทารกก็มีสัญชาตญาณในการใช้เสียงร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการ  และเมื่อผ่านผันวันเวลา มนุษย์ก็ได้เรียนรู้วิธีการไขความลับของธรรมชาติ ตลอดจนถ่ายทอดวิถีการดำรงชีวิต ผ่านการใช้เสียงในการสื่อสาร ดังจะเห็นได้จากการอบรมเลี้ยงดูผ่านความรักความเอื้ออาทรของบิดามารดา ญาติพี่น้อง และผู้คนแวดล้อม   จึงนับได้ว่า เสียง มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภายในเป็นอย่างมาก ทั้งยังช่วยทำให้วิถีการดำรงชีวิตที่ถูกทำนองคลองธรรมตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น และส่งต่อหนุนเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมได้อีกด้วย

แต่กระนั้นเอง วิธีการเรียนรู้ดังกล่าวใช่ว่าจะใช้ได้กับทุกคน…

หากลองนึกถึงบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถือกำเนิดมาพร้อมกับความบกพร่องในการรับรู้ทางเสียง หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า คนหูหนวกนั้น คงมิอาจปฏิเสธได้ว่า ความบกพร่องดังกล่าวนี้ทำให้พวกเขามีข้อจำกัดในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภายในอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้วิถีการดำเนินชีวิตในมุมที่ใครๆอาจไม่เคยคาดคิดมาก่อน

โดยปกติ คนทั่วไปอาจเข้าใจว่าคนหูหนวกนั้นแม้จะไม่ได้ยินเสียง แต่ก็สามารถที่จะเรียนรู้โลกใบนี้ได้ผ่านการมองเห็น ทั้งคนหูหนวกยังมีภาษามือที่สามารถใช้ในการสื่อสารเช่นเดียวกับที่คนทั่วไปใช้ภาษาพูด  พิจารณาเผินๆ จึงไม่น่ามีอะไรแตกต่างในแง่ของการเรียนรู้โลก

หากแต่ในความเป็นจริง การเรียนรู้วิถีแห่งการดำรงชีวิตในบริบทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เป็นนามธรรมนั้น ไม่อาจถ่ายทอดได้อย่างลึกซึ้งผ่านการรับรู้ด้วยสายตาเพียงช่องทางเดียว   แม้แต่การถ่ายทอดเรื่องราวดังกล่าวด้วยการใช้ภาษามือเองก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้และทำความเข้าใจในความหมายของบาปบุญคุณโทษ คุณธรรม จริยธรรม คนทั่วไปอาจจะค่อยๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจความหมายของสิ่งนามธรรมเหล่านี้จากการพร่ำบอก พร่ำสอน ของบิดามารดา ครูอาจารย์ ตลอดจนผู้คนแวดล้อมตั้งแต่เล็กจนโต หรือแม้แต่เวลาที่เราได้มีโอกาสฟังคำสวดมนต์ คำเทศนาของพระสงฆ์ก็ตาม   น้ำเสียงและเนื้อเสียงนั้นไม่เพียงถ่ายทอดเนื้อหาความหมาย แต่ยังช่วยให้เรารับรู้ได้ถึงมนต์ขลังและความศักดิ์สิทธิ์ที่ถ่ายทอดมาพร้อมกันอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ยิ่งตอกย้ำว่า เสียง ไม่เพียงถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราว แต่ยังถ่ายทอดพลังที่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของผู้ฟัง และเป็นพลังที่ช่วยเกื้อหนุนให้บุคคลเข้าใจในคำสอนเหล่านั้นได้อย่างลึกซึ้ง

หากเสียงดังกล่าวนั้นหาได้สื่อเข้าไปถึงภายในของคนหูหนวกได้แม้แต่น้อย…

สำหรับพวกเขาแล้ว จะมีรูปภาพอันใดที่สามารถอธิบายความหมายของนามธรรมดังกล่าวได้อย่างลึกซึ้ง”

บาปกรรม คุณธรรม จริยธรรมแท้จริงหน้าตาเป็นอย่างไร” สิ่งเหล่านี้ทั้งมองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้

ในเมื่อเสียงอันเป็นสื่อกลางที่มีอานุภาพในการถ่ายทอดนามธรรมนั้น ไม่มีผลอันใดกับพวกเขา และในเมื่อการมองเห็นและการสื่อด้วยภาพต่างก็มีข้อจำกัด พวกเขาจึงต้องใช้วิธีการหรือช่องทางการเรียนรู้ในการพัฒนาจิตใจในอีกรูปแบบหนึ่ง ดังเช่น วิธีการเล่าเรื่อง (Story Telling)

โดยธรรมชาติคนหูหนวกจะรวมกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นสังคม เพื่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน และเรื่องราวต่างๆที่ว่านี้ยังถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้โดยผ่านการเล่าเรื่อง ทั้งนี้ เรื่องที่เล่าด้วยภาษามืออาจมีเนื้อหาสาระไม่แตกต่างจากเรื่องที่เล่าด้วยเสียงทั่วไปมากนัก ทว่า ธรรมชาติอันพิเศษของภาษามือ คือ ภาษาแห่งภาพ ที่สื่อสารผ่านมือทั้งสองข้าง พร้อมด้วยสีหน้า ท่าทาง และการเคลื่อนไหวที่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

อย่างเช่นการเข้าถึงศีล ๕ ผ่านการเล่าเรื่องด้วยละครบทบาทสมมติเพื่อให้คนหูหนวกรับรู้ เข้าใจ ซึมซับ และเชื่อมั่นศรัทธาในคุณค่าของการรักษาศีล การฆ่าสัตว์นั้นเป็นบาป แต่บาปกรรมนั้นเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง พลังแห่งละครเรื่องเล่าจึงนำพาคนหูหนวกเข้าถึงจิตใจภายในด้วยการแสดงออกถึงความรู้สึกของแต่ละฝ่ายผ่านสีหน้าท่าทาง เช่น เราปวดร้าวเพียงใดหากโดนทำร้ายจิตใจร่างกาย ผู้อื่นที่โดนทำร้ายก็มิได้ต่างจากเรา ดังนี้ จึงทำให้เข้าใจกันและกันมากขึ้น

การเล่าเรื่องโดยใช้ภาษามือ จึงเป็นเสมือนการเล่าเรื่องด้วยภาพที่เปี่ยมด้วยชีวิตและความรู้สึก

เรื่องเล่ามีอำนาจในการเข้าถึงจิตใจของผู้ฟังทั่วไปมากเท่าใด ยิ่งมีผลเป็นเท่าทวีคูณแก่คนหูหนวกมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้   โรงเรียนสอนคนหูหนวกจึงจัดให้มีชั่วโมงการเรียนการสอนที่ให้ครูเล่านิทานสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และแนวคิดด้านศาสนา โดยผสมผสานเนื้อหาทางวิชาการให้แก่ผู้เรียนเป็นประจำทุกวัน

แน่นอน ทุกเรื่องที่เล่าเป็นนิทานที่ไร้เสียง

อีกประเด็นหนึ่งที่มิอาจจะไม่กล่าวถึงก็คือ บทบาทของเสียงกับการสร้าง สุนทรียภาพทางจิตใจ

ธรรมชาติมิได้สร้างมนุษย์ให้ต่อสู้ดิ้นรนเพียงเพื่อที่จะมีชีวิตรอดบนโลกใบนี้เท่านั้น หากแต่มนุษย์ยังต้องการสุนทรียภาพทางจิตใจ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุขไปพร้อมๆกัน   มนุษย์จึงเรียนรู้ที่จะสร้างสุนทรียภาพจากสิ่งต่างๆ รอบตัว ซึ่งหนึ่งในสุนทรียภาพที่จรรโลงจิตวิญญาณของมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันก็คือสุนทรียภาพทางเสียง

มนุษย์พัฒนาเสียงตามธรรมชาติให้กลายเป็นเสียงที่มีจังหวะ มีความไพเราะ สามารถเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก และช่วยกล่อมเกลาจิตใจของตนเอง แต่สำหรับคนหูหนวกนั้น พวกเขาจะสามารถรับรู้และสร้างสุนทรียภาพทางเสียงได้อย่างไร?–นั่นเป็นโจทย์ที่ชวนขบคิดไม่เบา

ก่อนจะตอบคำถามนี้ สิ่งที่เราจะลืมเสียมิได้ก็คือ คนหูหนวกแตกต่างจากคนอื่นๆตรงที่เขาไม่ได้ยินเสียงและพูดไม่ได้เท่านั้น หากแต่ความต้องการสุนทรียภาพเพื่อจรรโลงชีวิตและจิตใจก็มิได้แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้หวังดีหลายท่านพยายามที่จะช่วยให้คนหูหนวกมีโอกาสได้สัมผัสกับสุนทรียภาพเหล่านี้ โดยผ่านประสาทสัมผัสช่องทางอื่นแทน เช่น การรับรู้เสียงดนตรีจากการสัมผัสแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากการเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ   หรือ การรับรู้จังหวะดนตรีผ่านท่าทางของการเคลื่อนไหวที่สอดประสานกายและใจเข้าไว้ด้วยกัน

การได้ยินเป็นเพียงช่องทางหนึ่งของการใช้เสียงเพื่อเป็นสื่อนำสุนทรียภาพจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ภายในจิตใจเท่านั้น แต่กระนั้น สุนทรียภาพซึ่งเกิดขึ้นที่จิตใจก็มิได้เกิดจากการสดับผ่านโสตประสาทได้เพียงทางเดียว เพราะฉะนั้น หากเราสามารถค้นพบช่องทางอื่นที่สามารถถ่ายทอดเสียงให้เข้าถึงจิตวิญญาณภายในแล้ว เขาก็จะสัมผัสได้ถึงสุนทรียภาพเหล่านั้นได้ แม้อาจไม่สมบูรณ์เฉกเช่นคนธรรมดาทั่วไป

การไม่ได้ยินเสียงนั้นอาจเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับคนหูหนวกในการสื่อสารและการใช้ชีวิต แต่อุปสรรคที่ว่านี้ก็มิได้ลดทอนคุณค่าของชีวิตพวกเขาแต่อย่างใด ในทางกลับกัน ยิ่งเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้พวกเขาต้องสู้ชีวิตมากขึ้น และเป็นแบบอย่างอันทรงคุณค่าให้แก่คนที่มีความสมบูรณ์พร้อมทางกายเสียยิ่งกว่า

ระหว่างคนหูหนวกและคนที่หูไม่หนวกอย่างเราๆ ภาษามือ ภาษาเขียน หรือภาษาท่าทางใดๆ อาจจะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญ แต่โปรดอย่าลืมว่าสิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือ การสื่อสารด้วยภาษาใจ

ไม่ต้องอาศัยคำหรือสำเนียงเสียงใดๆ

ไม่จำเป็นต้องจินตนาการได้แจ่มชัดว่าโลกที่ไร้เสียงนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร

แค่เพียงเราได้เปิดพื้นที่ให้กับพวกเขา ด้วยการเปิดใจของเรา เท่านั้นก็เพียงพอ…

 

Source : http://semsikkha.org/tha/index.php/article/article-1/158-quiet

เพราะทุกคนจดจำเสียงแรกในชีวิตไม่ได้ แต่พวกเขาจดจำได้

Categories: กิจกรรมจัดหาทุน on

เพราะทุกคนจดจำเสียงแรกในชีวิตไม่ได้ แต่พวกเขาจดจำได้


มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกฯ จัดทำสื่อ ‘เสียงแรกในชีวิต’ หรือ ‘Welcome Sound’ เพื่อต้องการให้ทุกคนได้ชมว่าเด็กที่พิการหูหนวกแต่กำเนิด พวกเขากลับมาได้ยินและเริ่มพูดได้ ถ้าได้รับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ในช่วงอายุ 0-4 ปี

มูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวกในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำคลิปวิดีโอเพื่อส่ง สารไปยังประชาชนทั่วไปได้รับรู้ว่า หากลูกๆบ้านไหนมีความพิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด พวกเขาจะสามารถกลับมาได้ยินและพูดได้อีกครั้ง หากเข้ารับการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ตั้งแต่อายุ 0-4 ปี และเมื่อเด็กเหล่านี้ได้ยิน พวกเขาก็จะเริ่มฝึกพูด และพูดได้ในที่สุด และอยากส่งสารนี้ไปยังผู้มีจิตเมตตาร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือสมทบทุนการ ผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมให้กับน้องๆเหล่านี้

ถ้าหากใครได้ชมคลิปดังกล่าวแล้วจะได้เห็นและรับรู้เลยว่า มหัศจรรย์ของการได้ยินสำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิตนั้นเป็น อย่างไร กับรอยยิ้มของเด็กๆที่ได้ยินเสียงต่างๆเป็นครั้งแรก

ติดต่อขอเข้ารับการช่วยเหลือ

โทร. 02 2415169  โทรสาร  02 2436695

Line : Line ID: @deafthai

หรือ inbox เข้ามาที่ www.facebook.com/deafthaifoundation

ร่วมบริจาคที่

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this